เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • วารสารต้องรับบทความทางออนไลน์ที่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/fdajournal/index ดังนั้นผู้เขียนควรลงทะเบียนสมาชิกก่อนจากนั้นจึงส่งทางออนไลน์และส่งต้นฉบับด้วย แบบฟอร์มทางอีเมลที่ acadimic7259@hotmail.com;
  • ผลงานไม่ได้รับการตีพิมพ์ก่อนหน้านี้และไม่เคยมีวารสารอื่น ๆ เพื่อการพิจารณา (หรือมีคำอธิบายอยู่ใน Comments to Editor) การวิจัยที่เกินห้าปีไม่สามารถส่งได้
  • ไฟล์ที่ส่งอยู่ในรูปแบบไฟล์เอกสาร OpenOffice, Microsoft Word, RTF หรือ WordPerfect ได้แก่ :
    o หน้าชื่อเรื่อง (.doc)
    o ต้นฉบับ (.doc)
    o ตัวเลข (.jpg, .png, .tiff, .pptx)
    o ตาราง (.doc)
    o แบบฟอร์มลิขสิทธิ์ (.pdf)
  • หากมีให้ใช้ URL สำหรับการอ้างอิงจะได้รับการจัดเตรียมไว้ให้
  • ข้อความเว้นวรรคเดียว ใช้ TH SarabanPSI หรือ Th Saraban PSK โดยใช้ฟอนต์ 16 จุด ใช้ตัวเอียงแทนการขีดเส้นใต้ (ยกเว้นที่อยู่ URL) และภาพประกอบตารางและตัวเลขทั้งหมดจะถูกวางไว้ในข้อความอย่างเหมาะสม
  • ข้อความเป็นไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับโวหารและบรรณานุกรมที่ระบุไว้ในหลักเกณฑ์สำหรับผู้แต่ง
  • การพิมพ์ด้านเดียวใช้โปรแกรมมาตรฐานและใส่หมายเลขหน้าไว้ที่หน้าล่างขวาสำหรับทุกหน้า
  • ชื่อบทความเป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย ใช้ภาษาที่เป็นทางการกระชับไม่เกิน 125 คำหลีกเลี่ยงตัวย่อหากเป็นไปได้และแบบอักษร 18 จุด
  • ชื่อผู้แต่งและนามสกุลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย ในกรณีที่มีผู้แต่งมากกว่าหนึ่งคนควรจัดเรียงผู้แต่งตามภารกิจสำคัญตามลำดับและระบุด้วยตัวอักษรตัวยกหลังแต่ละนามสกุล ให้หน่วยงานในเครือของผู้เขียนทั้งหมดตามช่วงตามชื่อผู้แต่งหลักและใส่หมายเลขไว้หน้าหน่วยงานรวมถึงที่อยู่ติดต่อและอีเมลของผู้ประสานงานหลัก
  • บทคัดย่อของบทความวิจัยมีทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทยที่ไม่ควรเกิน 500 คำในแต่ละภาษา ต้องมีพื้นหลังวัตถุประสงค์วิธีการผลลัพธ์ข้อสรุปและคำสำคัญ 3-5 คำ
  • ควรเตรียมต้นฉบับดังต่อไปนี้:
    o บทคัดย่อที่ระบุสั้น ๆ
    o บทนำที่อธิบายถึงเหตุผลปัญหาหรือความเป็นมาของการวิจัย
    o วัตถุประสงค์ที่ระบุวัตถุประสงค์ของการศึกษา
    o วิธีการที่อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีดำเนินการศึกษา
    o ผลลัพธ์ที่นำเสนอผลการศึกษาใหม่เช่นตารางและตัวเลข (ไม่เกินห้า) และอธิบายตัวเลขและการค้นพบใหม่บนข้อความ
    o อภิปรายเพื่อสำรวจความสำคัญของผลลัพธ์ของงานที่จะไม่ทำซ้ำ
    o บทสรุปที่นำเสนอส่วนสรุปสั้น ๆ ในหนึ่งย่อหน้า
    o ข้อเสนอแนะ;
    o การรับทราบ (ไม่ว่าจะมี);
    o การอ้างอิงสไตล์แวนคูเวอร์และไม่เกิน 20 การอ้างอิง
  • ในรายละเอียดของบทความของเนื้อหาจำเป็นต้องใช้หมายเลขตัวยกหลังข้อความหรือย่อหน้าเพื่ออ้างถึงการอ้างอิง
  • แต่ละตารางและรูปควรอธิบายตนเองและบันทึกเป็น jpeg, pnd, tiff หรือ pptx
  • เพื่อให้มั่นใจในความสมบูรณ์ของการตรวจสอบวารสารฉบับนี้โดยไม่ได้ตั้งใจ Editor board จะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อป้องกันผู้ตรวจสอบและตัวตนของผู้เขียนโดยการลบชื่อทั้งหมดในกระบวนการ หลังจากยอมรับบทความแล้วชื่อเหล่านี้จะอยู่ในบทความ
  • ในกรณีที่ผู้เขียนหรือบทความใดเปลี่ยนใจไม่ต้องการเผยแพร่บน TJDJ ผู้เขียนจะต้องเขียนแจ้งในแบบฟอร์มการยกเลิกไปยัง Editor Board เพื่อปฏิเสธ
  • คณะบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงและพิจารณาการตีพิมพ์ตามลำดับความสำคัญตามความเหมาะสม

การส่งต้นฉบับ 

        การนำส่งบทความผ่านระบบออนไลน์เท่านั้น ต้นฉบับจัดพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word ขนาดกระดาษ A4 แบบแนวตั้ง ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 point และใส่เลขหน้าด้านขวาล่าง ทั้งนี้ เพื่อให้การตีพิมพ์บทความเป็นไปอย่างถูกต้องผู้นิพนธ์จะต้องมีบทความต้นฉบับ ดังนี้

  1. 1. ชื่อเรื่องภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่ชัดเจน ตรงกับประเด็นที่ศึกษา
  2. 2. ชื่อผู้นิพนธ์ หน่วยงาน ที่อยู่ติดต่อ และผู้ประสานงาน เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

           2.1 ชื่อและนามสกุลจริง (first name and family name) ไม่มีคำนำหน้าชื่อ อักษรนำตัวใหญ่ โดยไม่ต้องระบุตำแหน่งและคำนำหน้าชื่อ ให้เรียงลำดับชื่อแรกเป็นผู้นิพนธ์หลัก ตามด้วยชื่อผู้นิพนธ์ลำดับรองจนครบ และกำกับตัวเลขเป็นตัวยก (superscript) ไว้ท้ายชื่อผู้นิพนธ์เพื่อแสดงหน่วยงานต้นสังกัด ทั้งนี้ สำหรับชื่อภาษาอังกฤษให้ใส่เครื่องหมายจุลภาค (,) ด้านหลังชื่อผู้นิพนธ์แต่ละคน

               2.2 หน่วยงานต้นสังกัด ให้ใส่ตัวเลขยกขึ้นหน้าชื่อหน่วยงานเรียงลำดับเริ่มจากเลข 1 โดยแสดงชื่อหน่วยงานระดับรอง และหน่วยงานหลัก ตามด้วยจังหวัด ส่วนภาษาอังกฤษ ให้มีเครื่องหมายจุลภาค (,) คั่นในแต่ละข้อความ และมี Thailand ต่อท้ายจังหวัด และใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) ด้านท้ายของแต่ละคน

               2.3 ที่อยู่ติดต่อ ให้แสดงชื่อผู้ติดต่อหรือประสานงานหลัก ตามด้วยหน่วยงาน ถนน อำเภอ จังหวัด รหัสไปรษณีย์ และอีเมล ส่วนภาษาอังกฤษ ให้เพิ่ม Thailand หลังรหัสไปรษณีย์

  1. 3. การเขียนบทความวิจัย มีเนื้อหาไม่ควรเกิน 15 หน้า ประกอบด้วย (แบบฟอร์มบทความวิจัย)

               3.1 บทคัดย่อภาษาอังกฤษและภาษาไทย ต้องมีเนื้อหาที่ถูกต้องตรงกัน เป็นการย่อสาระสำคัญเฉพาะที่จำเป็น ความยาวของแต่ละภาษาไม่ควรเกิน 500 คำ ประกอบด้วย ความสำคัญ วัตถุประสงค์ วิธีการวิจัย ผลการศึกษาแสดงเฉพาะข้อมูลหลักที่สำคัญและสถิติ สรุป และคำสำคัญ 3 - 5 คำ

               3.2 บทนำ เป็นการเสนอปัญหา เหตุผล หรือที่มาของงานวิจัย ควรมีข้อมูลทุติยภูมิที่ชี้ให้เห็นปัญหา โดยอาจยกสถานการณ์มาประกอบเหตุผลนำเข้าสู่การศึกษาเพื่อแก้ปัญหาหรือตอบคำถามที่ตั้งไว้

               3.3 วัตถุประสงค์ ให้ระบุเป็นข้อ

               3.4 ระเบียบวิธีการวิจัย ได้แก่ วิธีวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือ ขั้นตอนการศึกษา (ถ้าจำเป็น) การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และคำนิยาม (ถ้ามี)

               3.5 ผลการศึกษา เป็นการอธิบายสิ่งที่ได้จากการวิจัย โดยเสนอหลักฐาน และข้อมูลอย่างเป็นระเบียบ ไม่ซับซ้อน บรรยายเป็นร้อยแก้ว มีลำดับการนำเสนอผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย หากมีตัวเลขและตัวแปรมากควรใช้ตารางหรือรูป โดยให้อธิบายความหมายของผลที่ค้นพบหรือวิเคราะห์ข้อมูลสำคัญที่ต้องการนำเสนอ อาจมีการอภิปรายผลไปพร้อมกันได้ โดยที่ชื่อตาราง ให้อยู่บนตาราง และชื่อรูปให้อยู่ใต้รูป ทั้งนี้ จำนวนตารางและรูปรวมกันไม่ควรเกิน 5 ภาพ

               3.6 อภิปรายผล  เป็นการอภิปรายสิ่งที่ค้นพบและควรเปรียบเทียบกับงานของผู้อื่น ซึ่งควรใช้หลักการเขียน 5 ประการคือ (1) ศึกษาอะไร เพื่อบอกวัตถุประสงค์หรือสมมุติฐานให้ทราบ (2) ผลที่ได้รับเป็นอย่างไร เพื่อบอกข้อค้นพบว่าเจออะไรบ้าง (3) เป็นเพราะอะไร เพื่อให้เหตุผลว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น (4) สอดคล้องกับใคร เพื่อบอกว่าข้อค้นพบนี้มีใครที่ทำวิจัยแล้วพบในลักษณะเดียวกันบ้างหรือขัดแย้งกับใครบ้าง (5) มีข้อจำกัดหรือไม่ (ถ้ามี) เพื่อให้ผู้อ่านตัดสินใจเรื่องความเที่ยงตรง (validity) ของผลวิจัยและข้อจำกัดที่จะนำไปสู่การให้ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไปและการนำผลวิจัยไปใช้

               3.7 สรุปผล เน้นสิ่งที่ค้นพบสำคัญจากการศึกษานี้ซึ่งเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์

               3.8 ข้อเสนอแนะ เป็นการเขียนเพื่อให้ข้อมูล คำแนะนำ แนวทาง หรือวิธีการใด ๆ แก่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อนำไปใช้ประโยชน์

               3.9 กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี)

               4. การเขียนบทความวิชาการ มีเนื้อหาความยาวไม่ควรเกิน 15 หน้า เป็นข้อเขียนเชิงสาระที่ผู้เขียนตั้งใจหยิบยกประเด็นใดประเด็นหนึ่ง หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในแวดวงวิชาการ วิชาชีพ เพื่อวิเคราะห์หรือวิพากษ์หรือมีทัศนะหรือให้แนวคิดใหม่ ให้ผู้อ่านทราบหรือปรับเปลี่ยนแนวคิด ความเชื่อมาสู่แนวคิดของผู้เขียน โดยเน้นการให้ข้อมูลความรู้เป็นสำคัญ และต้องมีข้อมูลทางวิชาการ เอกสารอ้างอิง และเหตุผลที่พิสูจน์ได้ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้อ่าน ประกอบด้วย (แบบฟอร์มบทความวิชาการ)

               4.1 บทนำ เป็นส่วนที่จูงใจผู้อ่านให้เกิดความสนใจ บอกที่มาและวัตถุประสงค์ของการเขียน เพื่อปูพื้นฐานหรือกรอบแนวคิดให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาสาระของบทความที่จะนำเสนอ (ไม่ต้องเขียน “บทนำ”)

               4.2 เนื้อเรื่อง เป็นการนำเสนอข้อมูลเนื้อหาสาระที่เข้าใจง่ายและรวดเร็ว การนำเสนอเนื้อเรื่องอาจแบ่งเป็นประเด็น หรือหัวข้อย่อย หรือลำดับเหตุการณ์ตามความเหมาะสมของบทความนั้น ๆ อาจมีการวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ด้วยข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ

               4.3 บทสรุป เป็นการสรุปประเด็นสำคัญของบทความอย่างสั้น ๆ ท้ายบท ซึ่งอาจบอกถึงผลลัพธ์ว่าสิ่งที่กล่าวมามีความสำคัญอย่างไร จะนำไปใช้อะไรได้บ้าง จะทำให้เกิดอะไรต่อไป หรืออาจตั้งประเด็นคำถามหรือประเด็นทิ้งท้ายเพื่อกระตุ้นให้ผู้อ่านได้แสวงหาความรู้ หรือคิดค้นพัฒนาเรื่องนั้นต่อไป

                5. เอกสารอ้างอิงแบบ Vancouver ไม่ควรเกิน 20 อ้างอิง ต้องมีการค้นคว้ารวบรวมสารสนเทศจากแหล่งต่าง ๆ โดยเฉพาะวารสาร และเอกสารการวิจัยที่มีความสำคัญจริง เป็นการนำรายการอ้างอิงกล่าวไว้ในเนื้อเรื่องซึ่งเป็นตัวเลขตัวยก มาเขียนรายละเอียดโดยเรียงลำดับที่ตรงกัน โดยมีตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิงข้างล่างนี้ (คำแนะนำการเขียน Vancouver)

               5.1 บทความจากเล่มวารสาร

               Kane RA, Kane RL. Effect of genetic testing for risk of Alzheimer's disease. N Engl J Med 2009;361:298-9.

               5.2 บทความจากวารสารอิเล็คทรอนิกส์

               Annas GJ. Resurrection of a stem-cell funding barrier-Dickey-Wicker in court. N Engl J Med [Internet]. 2010 [cited 2011 Jun 15]; 363:1687-9. Available from: http://www.nejm.org/doi/pdf/10.1056/NEJMp1010466

               5.3 บทความจากวารสารอิเล็คทรอนิกส์มี doi

               Gudlavalleti SK, Crawford EN, Harder JD, Reddy JR. Quantification of each serogroup polysaccharide of Neisseria meningitidis in A/C/Y/W-135-DT conjugate vaccine by high-performance anion-exchange chromatography-pulsed amperometric detection analysis. Anal Chem [Internet]. 2014 Jun [cited 2024 Mar 15];86(11): 5383-90. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/24810004/ doi: 10.1021/ac5003933

               5.4 หนังสือ

               เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์. การให้สารนํ้าและเกลือแร่. ใน: มนตรี ตู้จินดา, วินัย สุวัตถี, อรุณ วงษ์จิราษฎร์, ประอร ชวลิตธํารง, พิภพ จิรภิญโญ, บรรณาธิการ. กุมารเวชศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์; 2540. หน้า 424-78.

               5.5 หนังสืออิเล็คทรอนิกส์

               ศุภศิลป์ สุนทรา. ผลของวิตามินดีต่อการเกิด การป้องกันและการรักษาโรคกระดูกพรุน [อินเทอร์เน็ต]. ขอนแก่น: คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557 [เข้าถึงเมื่อ 8 ก.ย. 2557]. เข้าถึงได้จาก: http://www.osteokku.com/osteokkyu_o/ebook/vitamind.html

               Foley KM, Improving palliative care for cancer [Internet]. Washington: National Academy Press; 2001 [cited 2002 Jul 9]. Available from: http://www.nap.edu/catalog/10149/ improving -palliative-care-for-cancer

               5.6 เอกสารการประชุม

Christensen S, Oppacher F. An analysis of Koza’s computational effort statistic for enetic programming. In: Genetic programming. EuroGP 2002:Proceedings of the 5th European Conference on Genetic Programming; 2002 Apr 3-5; Kinsdale, Ireland. Berlin: Springer; 2002. p. 182-91.

               5.7 เอกสารกฎหมาย

               กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 281) พ.ศ. 2547 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศ ทั่วไป เล่มที่ 121, ตอนพิเศษ 97 ง (ลงวันที่ 6 กันยายน 2547).

               5.8 บทความในหนังสือพิมพ์

               Gaul G. When geography influences treatment options. Washington Post (Maryland Ed). 2005 Jul 24;Sect. A:12 (col.1).

               5.9 เอกสารรายงานของหน่วยงาน

               Page E, Harney JM. Hazard evaluation report. Cincinnati (OH): National Institute for Occupational Safety and Health (US); 2001 Feb. 24 p. Report No.: HETA2000-0139-2824.

               5.10 เว็บไซต์

               สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ขนมจีน (มผช. 500/2547)  [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม; 2547 [เข้าถึงเมื่อ 10 ต.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://tcps.tisi.go.th/pub/tcps500_47.pdf

               Ranchon F, Salles G, Späth HM, Schwiertz V, Vantard N, Parat S, et al. Chemotherapeutic errors in hospitalised cancer patients: attributable damage and extra costs [Internet]. 2011 [cited 2016 Aug 9]. Available from: https://bmccancer.biomedcentral.com/articles/10.1186/1471-2407-11-478