ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะผู้ปกครองเพื่อปรับพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้น
คำสำคัญ:
เด็กสมาธิสั้น, การปรับพฤติกรรม, โปรแกรมการฝึกทักษะผู้ปกครองบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยด้านพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้น ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการฝึกทักษะผู้ปกครอง และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยด้านพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้น ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการฝึกทักษะผู้ปกครองและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปกครองเด็กสมาธิสั้นที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์โดยได้รับการจับคู่และสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน โดยที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการฝึกทักษะผู้ปกครองร่วมกับการพยาบาลตามปกติเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือการทดลองคือโปรแกรมฝึกทักษะผู้ปกครองเพื่อปรับพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้น พัฒนาตามแนวคิดการฝึกอบรมผู้ปกครอง ประยุกต์กับทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ของโคล์บ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้น (SNAP-IV) จำนวน 26 ข้อ ผ่านการตรวจสอบความเชื่อมั่นและมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา, Independent t-test และ paired t-tests
ผลการวิจัย พบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยด้านพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้น หลังได้รับโปรแกรมการฝึกทักษะผู้ปกครองลดลงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) คะแนนเฉลี่ยด้านพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้น กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฝึกทักษะผู้ปกครองลดลงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่าโปรแกรมการฝึกทักษะผู้ปกครองมีประสิทธิภาพในการเพิ่มทักษะผู้ปกครอง และยังช่วยลดปัญหาด้านพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้นได้
References
จิรพรรณ สาบุญมา, ประนอม รอดคำดี, และสุนิศา สุขตระกูล. (2562). ผลของโปรแกรมการเรียนรู้โดยประสบการณ์แบบกลุ่มของบิดามารดาต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้น. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 31(2), 23-34.
ณัทธร ทิพยรัตน์เสถียร, ธันวรุจน์ บูรณสุขสกุล, ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์, และทรงภูมิ เบญญากร. (2557). คุณสมบัติของแบบคัดกรองโรคสมาธิสั้นชื่อ Swanson, Nolan, and Pelham IV Scale (SNAP-IV) และ Strengths and Difficulties Questionnaire ส่วนที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง/สมาธิสั้น (SDQ-ADHD) ฉบับภาษาไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 59(2), 97-110.
ดารินทร์ สิงห์สาธร, และวุฒิชัย เพิ่มศิริวาณิชย์. (2561). ผลของการส่งเสริมพัฒนาการเด็กสมาธิสั้นด้วยโปรแกรมกลุ่มบำบัดในโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา. บูรพาเวชสาร, 5(2), 70-86.
ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์, ชาญณรงค์ ชัยอุดมสม, ปาณิสรา เรือง, และชนัฐดา ภูวิชัย. (2561). การศึกษานำร่องเรื่องประสิทธิภาพของโปรแกรมกลุ่มฝึกทักษะครูในการปรับพฤติกรรมเด็กวัยเรียนกลุ่มเสี่ยง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 63(2), 115-126.
ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน, พรทิพย์ วชิรดิลก, ธันวรุจน์ บูรณสุขสกุล, โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ, และพัชรินทร์ อรุณเรือง. (2556). ความชุกโรคสมาธิสั้นในประเทศไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 21(2), 66-75.
นิฏย์ฐา ยอดแก้ว. (2564). ผลของโปรแกรมการเล่นบำบัดต่อทักษะทางสังคมของเด็กสมาธิสั้น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ภาวิตา จงสุขศิริ, สุพร อภินันทเวช, และสิรินัดดา ปัญญาภาส. (2562). ผล 1 ปีของการเข้าร่วมโปรแกรมอบรมผู้ปกครองเพื่อปรับพฤติรกรรมเด็กที่มีปัญหา สมาธิสั้น ดื้อต่อต้าน. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 64(2), 163-176.
ลัดดาวัลย์ อรัญยกานนท์. (2559). ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการฝึกอบรมผู้ปกครองเกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้น สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อัญชลี ศรีสมุทร์. (2564). บทบาทของพยาบาลในการดูแลเด็กสมาธิสั้น. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 18(2), 140-147.
Attention deficit/hyperactivity disorder (ADHD) agents. (2021, August 20). In LiverTox: Clinical and research information on drug-Induced liver injury. National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK573973/
de la Caridad Alvarez, M., García, B. H., Navarro Flores, C. M., Vázquez, A. L., Lara, J., & Domenech Rodríguez, M. M. (2023). Parent training interventions. In B. Halpern-Felsher (Ed.), Encyclopedia of child and adolescent health (pp. 800-820). Academic Press. https://doi.org/10.1016/B978-0-12-818872-9.00030-3
Evans, S., Ling, M., Hill, B., Rinehart, N., Austin, D., & Sciberras, E. (2018). Systematic review of meditation-based interventions for children with ADHD. European Child & Adolescent Psychiatry, 27(1), 9-27. https://doi.org/10.1007/s00787-017-1008-9
Feng, M., Xu, J., Zhai, M., Wu, Q., Chu, K., Xie, L., Luo, R., Li, H., Xu, Q., Xu, X., & Ke, X. (2023). Behavior management training for parents of children with preschool ADHD based on parent-child interactions: A multicenter randomized controlled, follow-up study. Behavioral Neurology, 2023, 3735634. https://doi.org/10.1155/2023/3735634
Hornstra, R., Groenman, A. P., van der Oord, S., Luman, M., Dekkers, T. J., van der Veen-Mulders, L., Hoekstra, P. J., & van den Hoofdakker, B. J. (2023). Review: Which components of behavioral parent and teacher training work for children with ADHD? - a metaregression analysis on child behavioral outcomes. Child and Adolescent Mental Health, 28(2), 258-268. https://doi.org/10.1111/camh.12561
Hsu, Y. C., Chen, C. T., Yang, H. J., & Chou, P. (2019). Family structure, birth order, and aggressive behaviors among school-aged boys with attention deficit hyperactivity disorder (ADHD). Social Psychiatry and Psychiatric Epidemiology, 54(6), 661-670. https://doi.org/10.1007/s00127-018-1624-9
Kolb, D. A. (1984). Experiential learning: Experience as the source of learning and development (Vol. 1). Prentice Hall.
Lee, Y. J., & Kim, J. (2022). Effect of maternal anxiety on parenting stress of fathers of children with ADHD. Journal of Korean Medical Science, 37(11), e89. https://doi.org/10.3346/jkms.2022.37.e89
Leffa, D. T., Caye, A., & Rohde, L. A. (2022). ADHD in children and adults: Diagnosis and prognosis. Current Topics in Behavioral Neuroscience, 57, 1-18. https://doi.org/10.1007/7854_2022_329
Mishra, P., Pandey, C. M., Singh, U., Gupta, A., Sahu, C., & Keshri, A. (2019). Descriptive statistics and normality tests for statistical data. Annals of Cardiac Anaesthesia, 22(1), 67-72. https://doi.org/10.4103/aca.ACA_157_18
Morrison, J., Chunsuwan, I., Bunnag, P., Gronholm, P. C., & Estrin, G. L. (2018). Thailand's national universal developmental screening programme for young children: Action research for improved follow-up. BMJ Global Health, 3(1), e000589. https://doi.org/10.1136/bmjgh-2017-000589
Nobel, E., Hoekstra, P. J., Brunnekreef, J. A., Messink-de Vries, D. E. H., Fischer, B., Emmelkamp, P. M. G., & van den Hoofdakker, B. J. (2020). Home-based parent training for school-aged children with attention-deficit/hyperactivity disorder and behavior problems with remaining impairing disruptive behaviors after routine treatment: A randomized controlled trial. European Child & Adolescent Psychiatry, 29(3), 395-408. https://doi.org/10.1007/s00787-019-01375-9
Pfiffner, L. J., & Haack, L. M. (2014). Behavior management for school-aged children with ADHD. Child and Adolescent Psychiatric Clinics of North America, 23(4), 731-746. https://doi.org/10.1016/j.chc.2014.05.014
Qiu, H., Liang, X., Wang, P., Zhang, H., & Shum, D. H. K. (2023). Efficacy of non-pharmacological interventions on executive functions in children and adolescents with ADHD: A systematic review and meta-analysis. Asian Journal of Psychiatry, 87, 103692. https://doi.org/10.1016/j.ajp.2023.103692
Sayal, K., Prasad, V., Daley, D., Ford, T., & Coghill, D. (2018). ADHD in children and young people: Prevalence, care pathways, and service provision. The Lancet Psychiatry, 5(2), 175-186. https://doi.org/10.1016/s2215-0366(17)30167-0
Wong, K. P., Qin, J., Xie, Y. J., & Zhang, B. (2023). Effectiveness of technology-based interventions for school-age children with attention-deficit/hyperactivity disorder: Systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. JMIR Mental Health, 10, e51459. https://doi.org/10.2196/51459
Young, S., & Cocallis, K. (2021). ADHD and offending. Journal of Neural Transmission, 128(7), 1009-1019. https://doi.org/10.1007/s00702-021-02308-0
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น