การบรรเทาปวดในระยะคลอดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก:

การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

ผู้แต่ง

  • จาฎุพัจน์ ศรีพุ่ม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ปรีดาวรรณ กะสินัง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ฐิติมา คาระบุตร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การบรรเทาปวดในระยะคลอด , หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น , ความเจ็บปวดในระยะคลอด

บทคัดย่อ

การคลอดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก เป็นวิกฤติสำคัญเหตุการณ์หนึ่งของชีวิต เนื่องจากความไม่พร้อมด้านร่างกายและจิตใจของผู้คลอด ทำให้มีพฤติกรรมการเผชิญหน้ากับความเจ็บปวดในระยะคลอดไม่เหมาะสม เกิดความตึงเครียดและส่งผลให้ระยะคลอดยาวนาน การบรรเทาปวดในระยะคลอด ทำให้มีระดับความเจ็บปวดลดลง มีพฤติกรรมการเผชิญหน้าความเจ็บปวดในระยะคลอดที่เหมาะสม งานวิจัยนี้เป็นการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปวิธีการและผลลัพธ์ของการบรรเทาปวดในระยะคลอดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก โดยใช้ระเบียบการวิจัยตามแนวคิดของการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบของสถาบัน Joanna Briggs พบงานวิจัย 6 เรื่อง ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 - 2566 เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง ระดับความน่าเชื่อถือที่ Level 2.c ผู้วิจัยมีการสกัดเนื้อหา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูล มีวิธีการจัดการบรรเทาปวดที่แตกต่างกันออกไป จัดทำสรุปวิธีการบรรเทาปวดในระยะคลอดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก

ผลการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบในครั้งนี้ สามารถสรุปวิธีการบรรเทาปวด ได้แก่  การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด การประคบร้อนและเย็น การนวดหลังและฝ่าเท้า และการจัดการความเจ็บปวดโดยการหายใจและเคลื่อนไหวอย่างอิสระ มีประสิทธิภาพการบรรเทาปวดในระยะคลอด สำหรับหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก ข้อเสนอแนะ ควรมีการศึกษาสำหรับการบรรเทาปวดในระยะคลอดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก โดยมีการสนับสนุนทางสังคม เช่น สามี บุคคลอื่น ๆ ในครอบครัว ในระยะคลอดอย่างต่อเนื่องเพื่อลดความเจ็บปวด

References

กรรณิการ์ โปร่งเกษม, ปิยะนุช ชูโต, และนงลักษณ์ เฉลิมสุข. (2563). ผลของการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าต่อความเจ็บปวดในการคลอดและความพึงพอใจของผู้คลอดวัยรุ่น. พยาบาลสาร, 47(2), 216-226.

กุลชาติ แซ่จึง, เยาวเรศ กิตติธเนศวร, เมธา ทรงธรรมวัฒน์, ปติณยา แสงอรุณ, เอื้อมพร สุ่มมาตย์, ศรีสุดา ทรงธรรมวัฒน์, พิมพ์ใจ มาลีรัตน์, และชัชนาวดี ณ น่าน. (2565). ภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ในมารดาวัยรุ่น: การศึกษาจากเหตุไปหาผลย้อนหลังแบบสหสถาบัน. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 30(3), 446-459.

จุฬาภรณ์ คําวงษ์. (2561). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในระยะคลอดโดยพยาบาลต่อระดับความเจ็บปวดและพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในหญิงวัยรุ่นครรภ์แรกโรงพยาบาลบึงกาฬ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 26(3), 164-175.

นิตยา สุขแสน, และเบญจวรรณ คล้ายทับทิม. (2565). ผลของการใช้โปรแกรมการส่งเสริมการจัดการความเจ็บปวดจากการคลอด ต่อคะแนนความเจ็บปวดและการรับรู้ประสบการณ์คลอด ของหญิงวัยรุ่นในระยะคลอด. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 16(3), 1044-1057.

เบญจมาภรณ์ ชูช่วย. (2558). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในระยะคลอดโดยพยาบาลต่อระดับความเจ็บปวดและพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในหญิงวัยรุ่นครรภ์แรก. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. คลังปัญญามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10669

ปิยะนุช ขวัญเมือง, โสเพ็ญ ชูนวล, และเบญญาภา ธิติมาพงษ์. (2562). ผลของโปรแกรมการเตรียมตัวเพื่อการคลอดร่วมกับการสนับสนุนในระยะคลอดอย่างต่อเนื่องต่อความปวดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 30(3), 115-127.

พิมพ์พรรณ จิราสุคนธ์, และพัชรินทร์ วิริยะศิริสกุล. (2565). ผลของการประคบร้อนร่วมกับประคบเย็นและการนวดหลังต่อความเจ็บปวดและพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดของผู้คลอดวัยรุ่นครรภ์แรก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี, 5(1), 79-96.

แพรวพรรณ แสงทองรุ่งเจริญ, และศรีสุดา งามขำ. (2562). การจัดการความปวดในระยะคลอดบนพื้นฐานทฤษฎีเชื่อมโยงระบบประสาท. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ, 25(2), 1-12.

มลิวัลย์ รัตยา, และอรวรรณ ฤทธิ์มนตรี. (2562). พฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นตอนต้น: แนวคิดและวิธีการจัดการโดยไม่ใช้ยา. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 34(1), 113-126.

มาลีวัล เลิศสาครศิริ. (2563). การพยาบาลสตรีในระยะตั้งครรภ์และระยะคลอด (พิมพ์ครั้งที่ 3). จามจุรีโปรดักส์.

ศศิธร เตชะมวลไววิทย์. (2558). ความปวดและการจัดการความปวดของมารดาในระยะที่หนึ่งของการคลอด. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 31(1), 114-124.

Anderson, C., & McGuinness, T. M. (2008). Do teenage mothers experience childbirth as traumatic? Journal of Psychosocial Nursing, 46(4), 21-24. https://doi.org/10.3928/02793695-20080401-01

Bohren, M. A., Hofmeyr, G. J., Sakala, C., Fukuzawa, R. K., & Cuthbert, A. (2017). Continuous support for women during childbirth. The Cochrane Database of Systematic Reviews, 7(7), CD003766. https://doi.org/10.1002/14651858.CD003766.pub6

Cunningham, F. G., Leveno, K. J., Bloom, S. L., Spong, C. Y., Dashe, J. S., Hoffman, B. L., Sheffield, J. S. (Eds.). (2014). Williams obstetrics. (24th ed.). McGraw-Hill Education.

Dick-Read G. (2013). The principles and practice of natural childbirth, In I. M. Gaskin (ed.), Childbirth without fear (pp. 318-330). Pinter & Martin.

Hodnett, E. D., Gates, S., Hofmeyr, G. J., & Sakala, C. (2012). Continuous support for women during childbirth. The Cochrane Database of Systematic Reviews, 10, CD003766. https://doi.org/10.1002/14651858.CD003766.pub4

Konlan, K. D., Afaya, A., Mensah, E., Suuk, A. N., & Kombat, D. I. (2021). Non-pharmacological interventions of pain management used during labour; an exploratory descriptive qualitative study of puerperal women in Adidome Government Hospital of the Volta Region, Ghana. Reproductive Health, 18, 86. https://doi.org/10.1186/s12978-021-01141-8

Marut, J. S., & Mercer, R. T. (1979). Comparison of primiparas' perceptions of vaginal and cesarean births. Nursing Research, 28(5), 260-266. https://doi.org/10.1097/00006199-197909000-00002

Melzack, R., & Wall, P. D. (2003). Pain management. Churchill Livingstone.

Sauls, D. J. (2010). Promoting a positive childbirth experience for adolescents. Journal of Obstetric, Gynecologic and Neonatal Nursing, 39(6), 703-712.

Siyoum, M., & Mekonnen, S. (2019). Labor pain control and associated factors among women who gave birth at Leku primary hospital, Southern Ethiopia. BMC Research Notes, 12(1), 619. https://doi.org/10.1186/s13104-019-4645-x

Stannard D. (2019). A Practical definition of evidence-based practice for nursing. Journal of Perianesthesia Nursing: Official Journal of the American Society of Peri Anesthesia Nurses, 34(5), 1080-1084. https://doi.org/10.1016/j.jopan.2019.07.002

The Joanna Briggs Institute. (2014). Reviewers’ manual 2014 Edition. Solito Fine Colour Printers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-20