ปัจจัยทำนายพฤติกรรมรังแกผู้อื่นบนโลกไซเบอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • รศิกาญจน์ พลจำรัสพัญช์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • นฤมล ธีระรังสิกุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ปัจจัยทำนาย , พฤติกรรมรังแกผู้อื่นบนโลกไซเบอร์ , นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมรังแกผู้อื่นบนโลกไซเบอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1-3 ในเขตเทศบาลจังหวัดสุรินทร์ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบ multi stage sampling โดยในแต่ละชั้นปี สุ่มตัวอย่างแบบง่าย (simple random sampling) ชั้นปีละ 1 ห้อง โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดตามเกณฑ์คัดเข้าจำนวน 116 ราย เก็บข้อมูลในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบสอบถามประสบการณ์การถูกข่มเหงรังแกบนโลกไซเบอร์ 2) แบบสอบถามแบบอย่างพฤติกรรมความรุนแรงจากสื่อออนไลน์ 3) แบบสอบถามรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู 4) แบบสอบถามอิทธิพลความรุนแรงจากเพื่อน 5) แบบสอบถามพฤติกรรมรังแกผู้อื่นบนโลกไซเบอร์ มีค่าความเชื่อมั่นแอลฟาของครอนบาคทั้งฉบับเท่ากับ 0.83, 0.93, 0.79, 0.84 และ 0.73 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (stepwise multiple regression)

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมรังแกผู้อื่นบนโลกไซเบอร์อยู่ในระดับน้อย (M = 27.14, SD = 2.55) อิทธิพลความรุนแรงจากเพื่อนและรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบให้อิสระอย่างมีขอบเขต สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมรังแกผู้อื่นบนโลกไซเบอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นได้ร้อยละ 37.6 (R2 = 0.376, F(1, 113) = 11.076, p < .001) ข้อเสนอแนะ การศึกษาต่อไปควรจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมรังแกผู้อื่นบนโลกไซเบอร์ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่เน้นให้กลุ่มเพื่อนที่นักเรียนใช้เวลาร่วมกันเป็นส่วนใหญ่เข้าร่วมกิจกรรมด้วยและส่งเสริมผู้ปกครองให้มีรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูบุตรแบบมีอิสระอย่างมีขอบเขต

References

เกษตรชัย และหีม. (2556). พฤติกรรมรังแกของนักเรียน. คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เกษตรชัย และหีม. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการรังแกของนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสงขลา. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(12), 14-30.

เกษตรชัย และหีม, และอุทิศ สังขรัตน์. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณลักษณะทางจิต ปัจจัยการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว และปัจจัยอิทธิพลความรุนแรงกับพฤติกรรมการรังแกของนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสงขลา. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 4(2), 65-82.

ชาญวิทย์ พรนภดล. (2561, 22 มีนาคม ). ป้องภัยใกล้ตัวลูกจาก Cyberbullying. กรมสุขภาพจิต. https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=27717

ชิดชัย ไขไพรวัน. (2560). พฤติกรรมการรังแกผู้อื่นของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2563). ขนาดอิทธิพล การวิเคราะห์อำนาจ การคำนวณขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมโดยใช้โปรแกรม G*Power. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พลอยพัชชา แก้ววิเศษ, นันทรัตน์ มาตยาบุญ, ลาวัลย์ สมบูรณ์, และศลิษา โกดยี่. (2564). พฤติกรรมข่มเหงรังแกบนโลกไซเบอร์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนักเรียนมัธยมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(5), 239-253.

วัฒนาวดี ศรีวัฒนพงศ์, และพิมผกา ธานินพงศ์. (2558). สื่ออิเล็กทรอนิกส์และอินเทอร์เน็ตที่มีต่อพฤติกรรมการรังแกของนักเรียนในโรงเรียน เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า, 1(2), 128-144.

วีรวิชญ์ เลิศรัตน์ธำรงกุล. (2564). การกลั่นแกล้งในพื้นที่ไซเบอร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น: ความชุก วิธีการจัดการปัญหา และพฤติกรรมเสี่ยง. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 275-289.

สวรรยา เสาวภาพ, และสุวรรณี พุทธิศรี. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูและพฤติกรรมการรังแกกันของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ณ โรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 65(3), 263-278.

สุภาวดี เจริญวานิช. (2560). การรังแกกันผ่านพื้นที่ไซเบอร์: ผลกระทบและการป้องกันในวัยรุ่น. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 25(4), 639-648.

ศลักษณา กิตติทัศน์เศรณี. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเลี้ยงดูของบิดามารดากับภาวะซึมเศร้าของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 4 ในโรงเรียนที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อภิญญา เยาวบุตร, วีณา เที่ยงธรรม, อาภาพร เผ่าวัฒนา, และสุธรรม นันทมงคลชัย. (2558). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการข่มเหงรังแกผู้อื่นในวัยรุ่นตอนต้น เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 29(2), 71-84.

เอมวดี เกียรติศิริ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมรังแกทางไซเบอร์ในนักเรียนมัธยมต้น. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

Baumrind, D. (1997). Child care practice anteceding three patterns of preschool behavior. Genetic Psychology Monographs, 75(1), 43-88.

Ford, R., King, T., Priest, N., & Kavanagh, A. (2017). Bullying and mental health and suicidal behaviour among 14- to 15-year-olds in a representative sample of Australian children. The Australian and New Zealand Journal of Psychiatry, 51(9), 897–908. https://doi.org/10.1177/0004867417700275

Green, L., & Kreuter, M. (2005). Health program planning: An educational and ecological approach (4th ed.). McGraw-Hill.

Hesapcioglu, S. T., & Ercan, F. (2017). Traditional and cyberbullying co-occurrence and its relationship to psychiatric symptoms. Pediatrics International, 59(1), 16-22.

Mizuta, A., Okada, E., Nakamura, M., Yamaguchi, H., & Ojima, T. (2018). Association between the time perspective and type of involvement in bullying among adolescents: A cross‐sectional study in Japan. Japan Journal of Nursing Science, 15(2), 156–166. https://doi.org/10.1111/jjns.12182

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01