การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น

ผู้แต่ง

  • นุชจรี ไสยสมบัติ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
  • บาลิยา ไชยรา โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
  • ปริญญา ชำนาญ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
  • สมจิตต์ ลุประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กุณฑ์ชลี เพียรทอง โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์
  • นุสรา วิชย์โกวิทเทน โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

การพัฒนา, โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ, สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น

บทคัดย่อ

วิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น 2) พัฒนาและทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการคลอดก่อนกำหนด ภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย บทบาทการเป็นมารดา และความเครียดในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น และ 3) เพื่อประเมินคุณภาพของโปรแกรม โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย 1) การศึกษาสภาพปัญหาและการดูแลสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น จำนวน 24 คน 2) การพัฒนาและประเมินประสิทธิผลโปรแกรม จากสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นในหน่วยงานฝากครรภ์ และคลอด ณ ห้องคลอดโรงพยาบาลในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 212 คน และ 3) การประเมินคุณภาพโปรแกรมจากผู้เชี่ยวชาญ 13 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ และแบบสอบถาม ประกอบด้วย 5 ส่วน มีค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ .77 ถึง .92 วิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำและไคสแควร์  

ผลการวิจัยพบว่าวัยรุ่นตั้งครรภ์มีทัศนคติต่อการตั้งครรภ์เชิงลบ ภายหลังยอมรับการตั้งครรภ์ได้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้สึกเชิงบวก ผลการพัฒนาและทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรม พบว่า กลุ่มทดลองมีอัตราการคลอดก่อนกำหนด และทารกมีภาวะน้ำหนักตัวน้อยต่ำกว่ากลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .01) กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยบทบาทมารดา ความเครียดสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001, p<.01) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยแต่ละระยะพบว่า หลังได้รับโปรแกรม และระยะติดตามผลมีคะแนนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) สรุปได้ว่าการเสริมสร้างพลังอำนาจมีประสิทธิภาพในการดูแลสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น

References

กมลธิดา เหล่าบุตรสา, สัมมนา มูลสาร, แสวง วัชระธนกิจ, และสุเพียร โภคทิพย์. (2560). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาการสร้างเสริมพลังอำนาจมารดาต่อการรับรู้ความสามารถ พฤติกรรมมารดาและภาวะสุขภาพของทารกแรกเกิด. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน, 13(ฉบับพิเศษ), 464-475.

กรมอนามัย, สำนักการอนามัยเจริญพันธุ์. (2563). สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุนและเยาวชนปี 2563. https://rh.anamai.moph.go.th/th/cms-of-1/download/?did=207028&id=80543&reload=

กรมสุขภาพจิต. (2540). การสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง. โรงพยาบาลสวนปรุง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

กัลยาลักษณ์ ไชยศิริ, ประนอม รอดคำดี, และสุรศักดิ์ ตรีนัย. (2561). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจมารดาร่วมกับการสัมผัสแบบอ่อนโยน ต่อพฤติกรรมตอบสนองของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย. พยาบาลสาร, 45(4), 1-13.

กาญจนา ศรีสวัสดิ์, และชุติมา ปัญญาพินิจนุกูร. (2559). ความเครียดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารพยาบาลทหารบก, 17(2), 7-11.

กุสุมา หมวกมณ. (2563). การปรับตัวของแม่วัยรุ่นต่อบทบาทความเป็นแม่: ศึกษาเฉพาะกรณีคลินิกรักษ์ดรุณ โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 28(2), 60-85.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. จามจุรีโปรดักท์.

ปฏิญญา เอี่ยมสำอาง, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์, และพรนภา หอมสินธุ์. (2556). ปัจจัยเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ซ้ำที่ไม่ตั้งใจของวัยรุ่น. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 8(1), 55-66.

ภัทรวลัญซ์ เศรษฐ์ภัทรพล. (2559). ผลของโปรแกรมการพัฒนาบทบาทการเป็นมารดาสำหรับมารดาวัยรุ่นหลังคลอด ในจังหวัดปทุมธานี, วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 22(1), 46-58.

รุ่งนพนันท์ เขียวสุประเสริฐ, และนุจรี ไชยมงคล. (2555). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจมารดาต่อความสามารถของมารดาในการดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยมากในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด. วารสารมหาวิทยาลัยบูรพา, 2(4), 46-56.

โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. (2563). สถิติสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น. แผนกฝากครรภ์ กลุ่มงานสูติกรรรม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี.

แว่นใจ นาคะสุวรรณ, สาวิตรี แย้มศรีบัว, มธุรส จันทร์แสงศรี, วรรณดา มลิวัลย์, กาญจนา อาชีพ, ทิวาพร ฟูเฟื่อง, มลิจันทร์ เกียรติสังวร, และคนธาธร ประทักษ์กุลวงศา. (2565). ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพการดูแลตนเองต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแล ตนเองและพฤติกรรมความเครียดของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 16(3), 237-254.

ศรีสมร ภูมนสกุล, อรพรรณ สมบูรณ์ทรัพย์, และอุษา ศิริวัฒนโชค. (2547). การพัฒนาแบบวัดความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดา: ฉบับปรับปรุงและคุณสมบัติด้านการวัด. วารสารพยาบาลศาสตร์, 22(1), 28-38.

สัจจวรรณฑ์ พวงศรีเคน, จำรัสลักษณ์ เจริญแสน, และอมรรัตน์ ผาละศรี (2561). ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจมารดาต่อการแสดงบทบาทการเป็นมารดา ความพึงพอใจในบทบาทการเป็นมารดาและน้ำหนักตัวของทารกคลอดก่อนกำหนด. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 15(1), 136-145.

สุภาวดี เงินยิ่ง, พิริยา ศุภศรี, และวรรณทนา ศุภสีมานนท์. (2556). ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการและการจัดการกับความเครียดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 21(4), 37-48.

อ้อมใจ พลกายา, และพัทธวรรณ ชูเลิศ. (2562). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมบทบาทการเป็นมารดาโดยใช้การสนับสนุนของครอบครัวต่อทัศนคติและบทบาทของการเป็นมารดาของมารดาวัยรุ่น. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 2(1), 131-142.

Best, J. W., & Kahn, J. V. (1993). Research in education. Allyn and Bacon

Jeha, D., Usta, I., Ghulmiyyah, L., & Nassar, A. (2015). A review of the risks and consequences of adolescent pregnancy. Journal of Neonatal-Perinatal Medicine, 8(1), 1-8. https://doi.org/10.3233/NPM-15814038

Jirapaet, V. & Jirapaet, K. (2000). Comparisons of tympanic membrane, abdominal skin, axillary, and Rectal Temperature measurements in term and preterm neonates. Nursing & Health Sciences, 2(1), 1-8.

Gibson, H. (1995). Nursing: Empowerment and the problem of power. Journal of Advanced Nursing, 21(5), 865-871.

Grady, M. A., & Bloom, K. C. (2004). Pregnancy outcomes of adolescents enrolled in a CenteringPregnancy Program. Journal of Midwifery & Women's Health, 49(5), 412-420. https://doi.org/10.1111/j.1542-2011.2004.tb04435.x

Mercer, R. T. (1995). Becoming a mother. Springer.

Rubin, R. (1967). Attainment of the maternal role: Part I. processes. Nursing Research, 16(3), 237-245.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01