การพัฒนาความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ที่เป็นโรคจิตเภทในชุมชน

ผู้แต่ง

  • ขวัญตา ภูริวิทยาธีระ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ปนิดา พุ่มพุทธ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การพัฒนาความเชี่ยวชาญ , การปฏิบัติการพยาบาล , ผู้ที่เป็นโรคจิตเภท

บทคัดย่อ

การพัฒนาความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติการพยาบาลเป็นบทบาทสำคัญของอาจารย์พยาบาลที่แสดงถึงการใช้องค์ความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญสู่การดูแลบุคคล ครอบครัว และชุมชนอย่างมีคุณภาพ ผู้ศึกษาในบทบาทอาจารย์พยาบาลได้พัฒนาความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติการพยาบาล เพื่อใช้ประสบการณ์ด้านการปฏิบัติการพยาบาลและองค์ความรู้สู่การพยาบาลผู้ที่เป็นโรคจิตเภท ของศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาล 4 (บึงขุนทะเล) จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 9 ราย ที่อาการทางจิตทุเลา ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ มีสัมพันธภาพและทำหน้าที่ทางสังคมได้ รับประทานยาต่อเนื่องและพบแพทย์ตามนัด บางรายมีอาการระยะหลงเหลือ บกพร่องกิจวัตรประจำวัน บกพร่องสัมพันธภาพและหน้าที่ทางสังคม รับประทานยาและรักษาไม่ต่อเนื่อง ผู้ศึกษาใช้มิติการฟื้นฟูและการบำบัดรักษา ใช้ตนเองเป็นเครื่องมือในการบำบัด สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด ตรวจสภาพจิต ให้ข้อมูลความจริง ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตามแผนการรักษา การจัดการเบื้องต้นเมื่ออาการทางจิตกำเริบและปัญหาการรับประทานยา การรักษาโรคจิตเภทและโรคทางกายควบคู่กัน และแหล่งบริการทางสุขภาพเพื่อส่งต่อ รวมทั้งเสริมแรงทางบวก พัฒนาคุณค่าในตนเอง และเสริมสร้างพลังอำนาจแก่ผู้ที่เป็นโรคจิตเภทและญาติให้อยู่ในชุมชนอย่างมีความสุข จากการปฏิบัติการพยาบาลผู้ที่เป็นโรคจิตเภทในชุมชนจะสามารถดูแลตนเองและอยู่ในชุมชนอย่างมีความสุข ผู้ศึกษาเกิดความท้าทายและตั้งใจพัฒนาความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ที่เป็นโรคจิตเภทในชุมชนและขยายวงกว้างไปยังผู้ที่เป็นโรคจิตชนิดอื่น ๆ เพื่อแสดงถึงความเชี่ยวชาญทางการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

References

กรมสุขภาพจิต. (2565). รายงานผู้ป่วยมารับบริการด้านจิตเวช: ข้อมูลจากระบบศูนย์กลางการให้บริการผู้ป่วยจิตเวชของประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ 2564 คลังข้อมูลการแพทย์และสุขภาพ (HDC). กระทรวงสาธารณสุข.

ขวัญตา ภูริวิทยาธีระ, และปนิดา พุ่มพุทธ. (2560). การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช เล่ม 1. เลิศไชย.

จริยา วิทยะศุภร. (2564). การบรรยายพิเศษ เรื่อง รูปแบบและแนวทางของการจัดทำ faculty practice วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สภาการพยาบาล. (2565, 21 กุมภาพันธ์). แนวทางการทำ faculty practice. https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/Faculty%20Practice(1).pdf

ภัทราภรณ์ ทุ่งปันคำ. (2560). การพยาบาลผู้ที่เป็นโรคจิตเภท. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สถาบันพระบรมราชชนก, คณะพยาบาลศาสตร์. (2565). แผนยุทธศาสตร์คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2566-2570.

McArthur, D. B. (2019). Emerging infectious diseases. The Nursing Clinics of North America, 54(2), 297–311. https://doi.org/10.1016/j.cnur.2019.02.006

Milani, R. V., Bober, R. M., & Lavie, C. J. (2016). The role of technology in chronic disease care. Progress in Cardiovascular Diseases, 58(6), 579–583. https://doi.org/10.1016/j.pcad.2016.01.001

Taylor, D. (1996). Faculty practice: Uniting advanced nursing practice and nursing education. In A. Hamric, J. Spross, & C. Hanson (Eds.), Advanced nursing practice: An integrative approach (pp. 469-495). Saunders.

World Health Organization. (2022, January 10). Schizophrenia. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/schizophrenia

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01