การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ผู้แต่ง

  • อติญาณ์ ศรเกษตริน คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • สุทธานันท์ กัลกะ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ทัศนีย์ เกริกกุลธร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • อัจฉรา สุขสำราญ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนการสอน , โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 , นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าใจประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มตัวอย่างคือ ตัวแทนผู้บริหารทั้งจากมหาวิทยาลัย สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และจากวิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มละ 15 คน รวมจำนวนผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จนข้อมูลมีความอิ่มตัว และใช้การวิเคราะห์เนื้อหาในการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการวิจัย การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การเตรียมความพร้อมนักศึกษาสำหรับรูปแบบการเรียนการสอนใหม่ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวมถึงการเตรียมความพร้อมนักศึกษาเพื่อการเรียนออนไลน์ และการเตรียมความพร้อมนักศึกษาเพื่อการฝึกปฏิบัติงาน 2) การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติผ่านช่องทางออนไลน์ ได้แก่ การเรียนรู้ออนไลน์ การเรียนรู้ในสถานการณ์เสมือนจริง การฝึกปฏิบัติการพยาบาลในสถานการณ์จำลองเสมือนจริงระดับสูง และการพยาบาลผ่านเครื่องมือสื่อสารหรือแอปพลิเคชัน 3) ความต้องการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ครอบคลุมความต้องการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ทางออนไลน์ ความต้องการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ในสถานการณ์เสมือนจริงในห้องปฏิบัติการหุ่นจำลองเสมือนจริงขั้นสูง และความต้องการอุปกรณ์ป้องกันในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลในสถานการณ์จำลองเสมือนจริงระดับสูงเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง สถานศึกษาในสังกัดและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ ปิดทำการด้วยเหตุผลพิเศษ.

กิตติพงษ์ พลทิพย์, จิรวรรณ ชาประดิษฐ์, วณิภา ซึ้งศิริทรัพย์, ชุมศรี ต้นเกตุ, สุพัตรา เชาว์ไวย, และวิราพร สืบสุนทร. (2565). การจัดการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19. วารสารพยาบาลและสาธารณสุขมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 1(1), 15-20.

ขวัญตา บุญวาศ, โสภา รักษาธรรม, สุทธานันท์ กัลกะ, และมญช์พาณี ขำวงษ์. (2565). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง ในยุคสังคมปกติวิถีใหม่ของคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 32(3), 66-79.

ทัชมาศ ไทยเล็็ก, ปราณีี คำจัันทร์, และศมนนันท์ ทัศนีย์์สุุวรรณี (2566). การเรียนรู้ของนักศึึกษาพยาบาลในช่่วงสถานการณ์์การระบาดของโรคติิดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019:กรณีศึึกษารายวิชาการวิจััยเบื้องต้นทางการพยาบาล. วารสารวิจััยทางการพยาบาล การผดุุงครรภ์์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 43(2), 84-97.

พิมผกา ปัญโญใหญ่, และพีรนุช ลาเซอร์. (2564). การออกแบบการเรียนรู้ในยุคโควิด-19 ให้มีประสิทธิภาพ: ถอดบทเรียนการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท, 3(3), e2681.

รัชนก กลิ่นชาติ, บุศริน เอี่ยวสีหยก, ธัสมน นามวงษ์, ภโวทัย พาสนาโสภา, และสุมาลี ราชนิยม. (2562). การพัฒนาห้องปฏิบัติการพยาบาลที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 30(1), 188-199.

อมร ลีลารัศมี. (2563). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ COVID-19 จากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2. แพทยสภา. https://tmc.or.th/covid19/download/pdf/tmc-covid19-19.pdf

อารยา เจรนุกุล, และแสงเดือน พรมแก้วงาม. (2564). ประสบการณ์การเรียนการสอนออนไลน์วิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 2 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: กรณีศึกษา. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 14(2), 264-282.

อารี ชีวเกษมสุข. (2564). การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสานในยุคความปกติใหม่. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 37(1), 25-37.

Ali, W. G. M. (2016). Nursing students’readiness for e-Learning experience. Gynecology & Obstetrics, 6, 1-6. doi:10.4172/2161-0932.1000388

Colaizzi, P. F. (1978). Psychological research as a phenomenologist views it. In R. S. Valle & M. King (Eds.), Existential-phenomenological alternatives for psychology (pp. 48-71). Oxford University Press.

Guba, E. G., & Lincoln, Y. S. (1989). Fourth generation evaluation. Sage.

Morin K. H. (2020). Nursing education after COVID-19: Same or different? Journal of clinical nursing, 29(17-18), 3117–3119. https://doi.org/10.1111/jocn.15322

Sadeghi Mahalli, N, Rad, M., Nematifard, T., & Khaki, S. (2020). The challenges of virtual education in nursing before and after COVID-19. A Systematic Review, 1(3), 810-990.

Tolyat, M., Abolfazl Vagharseyyedin, S., & Nakhaei, M. (2022). Education of nursing profession amid COVID-19 Pandemic: A qualitative study. Journal of Advances in Medical Education & Professionalism, 10(1), 39–47. https://doi.org/10.30476/JAMP.2021.90779.1422

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19