ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์จริงต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการใช้กระบวนการพยาบาลและการรับรู้คุณค่าวิชาชีพพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ในสภาวการณ์ระบาดของโรคโควิด-19

ผู้แต่ง

  • พัชรินทร์ วรรณทวี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • จิรสุดา ทะเรรัมย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การรับรู้สมรรถนะแห่งตน , กระบวนการพยาบาล , คุณค่าทางวิชาชีพพยาบาล, การเรียนรู้ในสถานการณ์จริง

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์จริงต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการใช้กระบวนการพยาบาลและการรับรู้คุณค่าวิชาชีพพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ในสภาวการณ์ระบาดของโควิด-19 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ จำนวน 103 คน โดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือการวิจัย คือ คู่มือการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการใช้กระบวนการพยาบาลและแบบสอบถามการรับรู้คุณค่าวิชาชีพพยาบาลมีค่าความเชื่อมั่น 0.98 และ 0.96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียวแบบวัดซ้ำ

ผลการศึกษาพบว่าหลังทดลองทันที นักศึกษาพยาบาลศาสตร์มีค่าเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการใช้กระบวนการพยาบาล และการรับรู้คุณค่าวิชาชีพพยาบาลสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) ที่หลังทดลอง 4 สัปดาห์ ค่าเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการใช้กระบวนการพยาบาล และการรับรู้คุณค่าวิชาชีพพยาบาลสูงกว่าก่อนเรียนและหลังเรียนทันทีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)

 สรุปได้ว่า รูปแบบการเรียนรู้ในสถานการณ์จริงสามารถส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการใช้กระบวนการพยาบาลและการรับรู้คุณค่าวิชาชีพพยาบาลได้

References

กองการพยาบาล. (2561). บทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพ. สำนักพิมพ์สื่อตะวัน.

กล้าเผชิญ โชคบำรุง, ปาริชาติ วงศ์ก้อม, และจินตนา สุวิทวัส. (2564). การรับรู้สมรรถนะตนเองทางการพยาบาลในการฝึกปฏิบัติวิชาการพยาบาลสุขภาพผู้ใหญ่ 1 ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร-บัณฑิต ชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารพยาบาลศาสตร์ และสุขภาพ, 44(2), 72-85.

กิตติพงษ์ พลทิพย์, จิราวรรณ ชาปะดิษฐ์, วณิภา ซึ้งศิริทรัพย์, ชุมศรี ต้นเกตุ, สุพัตรา เชาว์ไวย, และวิราพร สืบสุนทร. (2565). การจัดการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19. วารสารพยาบาลและสาธารณสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 1(1), 15-20.

ธัญญาสิริ ธันยสวัสดิ์, ณัชชา ตระการจันทร์, และนภารินทร์ นวลไธสง. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สมรรถนะ เจตคติ ความพึงพอใจในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วยมีผลต่อทักษะการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2. วารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 11(2), 21-29.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

พนมพร กีรติตานนท์. (2559). ผลการใช้รูปแบบการรับส่งเวรข้างเตียงต่อการรับรู้คุณค่า และจรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาล. วารสารโรงพยาบาลพระปกเกล้า, 33(2), 117-128.

พรศิริ พันธสี. (2565). กระบวนการพยาบาล & แบบแผนสุขภาพ : การประยุกต์ใช้ทางคลินิก (พิมพ์ครั้งที่ 28). พิมพ์อักษร.

ภัทรา เผือกพันธ์, กันยพัชร์ เศรษฐโชฏก, และภาวิณี ซ้ายกลาง. (2565). ผลกระทบทางจิตใจจากการระบาดของโรคโควิด 19 ต่อนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาล, 71(4), 55-62.

มนสภรณ์ วิทูรเมธา, สมจิต นิปัทธหัตถพงศ์, มาลี เอี่ยมสำอาง, และลัดดาวัลย์ เตชางกูร. (2559). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 27(2), 100-113.

วรรณชาติ ตาเลิศ, และรุจิสรร สุระถาวร. (2565). การศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้สมรรถนะการใช้กระบวนการพยาบาลและการรับรู้ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาล. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี สุรินทร์, 12(1) 94-108.

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. (2560). หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560). วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์.

สมศรี ทาทาน, และอัมพร ยานะ. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อทักษะปฏิบัติการพยาบาลและทัศนคติต่อวิชาชีพตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาลที่ขึ้นฝึกภาคปฏิบัติครั้งแรก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 15(2), 46-54.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2565). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 10). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิรดี นันท์ศุภวัฒน์, และอุดมรัตน์ สงวนศิริธรรม. (2562). ระบบพี่เลี้ยงกับการพัฒนาวิชาชีพพยาบาล. พยาบาลสาร, 46(3), 232-238.

อรนันท์ หาญยุทธ. (2557). กระบวนการพยาบาลและการนำไปใช้. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 137-143.

อรนันท์ หาญยุทธ. (2565). กระบวนการพยาบาล: ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ธนอรุณการพิมพ์.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. W.H. Freeman and Company.

Dellafiore, F., Rosa, D., Udugampolage, N. S., Villa, G., & Albanesi, B. (2022). Professional values and nursing self-efficacy in the Italian context. Correlational descriptive study. Scandinavian journal of caring sciences, 36(1), 142–149. https://doi.org/10.1111/scs.12971

Poorchangizi, B., Borhani, F., Abbaszadeh, A., Mirzaee. M., & Farokhzadian, J. (2019). The importance of professional values from nursing students’ perspective. BMC Nursing,18, 26. https://doi.org/10.1186/s12912-019-0351-1

Xie, J., Luo, X., Zhang, C., Li, L., Xiao, P., Duan, Y., Cheng, Q., Liu, X. & Cheng, S. A. (2023). Relationships between depression, self-efficacy, and professional values among Chinese oncology nurses: a multicenter cross-sectional study. BMC Nursing. 22, 140. https://doi.org/10.1186/s12912-023-01287-9

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19