การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • นุชรีย์ ทองเจิม โรงพยาบาลอ่าวลึก จังหวัดกระบี่
  • ธีรวัฒน์ สกุลมานนท์ โรงพยาบาลอ่าวลึก จังหวัดกระบี่
  • ลัดดาวัลย์ สิทธิสาร โรงพยาบาลอ่าวลึก จังหวัดกระบี่

คำสำคัญ:

การบำบัด, ยาเสพติด, ชุมชนเป็นฐาน, การพัฒนารูปแบบ, ผู้ใช้ยาเสพติด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบ และศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นฐาน ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย 60 คน เก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม เทคนิคการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (AIC) กระบวนการ PAR ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์ปัญหาและการวางแผนพัฒนา 2) การปฏิบัติตามแผน  3) การสังเกตผล 4) การสะท้อนกลับเพื่อการพัฒนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Paired  t-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการแก้ปัญหา เป็นการนำทรัพยากรจากชุมชนมาพัฒนาศักยภาพชุมชน ให้สามารถคิดวิเคราะห์ วางแผน ดำเนินการ และติดตามประเมินผลในการแก้ปัญหาของชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม รูปแบบการบำบัดฟื้นฟูมีกิจกรรม 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การค้นหาและคัดกรอง 2) การบำบัดฟื้นฟู 3) การฝึกอาชีพ และ 4) การติดตามช่วยเหลือ  ผลของการนำรูปแบบไปปฏิบัติ (1) คะแนนเฉลี่ยระดับความเครียดของผู้ใช้ยาเสพติดหลังใช้รูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นฐาน (M = 7.4, SD = 2.0) ต่ำกว่าก่อนได้รับ (M = 12.1, SD = 4.1) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05. คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตผู้ใช้ยาเสพติดหลังหลังใช้รูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นฐาน (M = 106.0, SD = 7.72) สูงกว่าก่อนได้รับ (M = 96.13, SD = 11.31) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) อัตราการบำบัดครบตามเกณฑ์สูงถึงร้อยละ 100 (3) อัตราการ หยุดเสพต่อเนื่อง 1 เดือน 3 เดือน คิดเป็นร้อยละ 80 และ 66.66 ตามลำดับ

สรุป การบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นฐาน เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ผ่านรับการบำบัดเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดี ได้รับการยอมรับจากครอบครัวและชุมชนมากขึ้น ควรมีการขยายผลไปยังชุมชนอื่น ๆ ปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่

References

กระทรวงสาธารณสุข, กรมการแพทย์. (2565). แนวทางการคัดกรอง การประเมินความรุนแรง การบำบัดรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด สำหรับศูนย์คัดกรอง สถานพยาบาลยาเสพติด และสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด. https://www.chiangmaihealth.go.th/document/221101166727744069.pdf

กระทรวงสาธารณสุข, กองบริหารการสาธารณสุข, สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด. (2565). แนวทางการการดำเนินงานการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด. https://phdb.moph.go.th/main/index/detail/31037

ชโลธร อัญชลีสหกร. (2558). กระบวนการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนกรณีศึกษาสารภีโมเดล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ณฐพร ผลงาม. (2564). การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนจังหวัดระยอง. วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม, 1(2), 49-71.

นันทา ชัยพิชิตพันธ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพในผู้ป่วยเสพติดยาบ้า: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รอฮานิ เจะอาแซ, ฮัสณาฐ์ โต๊ะพา, คอลีเยาะ เจะแว, ปารี่ด๊ะ บิลล่าเต๊ะ, สุไฮดาร์ แวเตะ, เจ๊ะยารี เย๊าะ เจะโซ๊ะ, และฉมาพร หนูเพชร. (2561). การพัฒนารูปแบบการป้องกันการใช้สารเสพติดโดยใช้มัสยิดเป็นศูนย์กลาง: กรณีศึกษาชุมชนมุสลิมในจังหวัดปัตตานี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 10(1), 67-76.

โรงพยาบาลอ่าวลึก, กลุ่มงานสุขภาพจิตและจิตเวช. (2565). สรุปผลการดำเนินงานยาเสพติด.

วีรวัต อุครานันท์ และนันทา ชัยพิชิตพันธ์ (บ.ก.). (2562). แนวทางการดำเนินงานการบำบัดฟื้นฟูโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและแนวปฏิบัติที่ดี. สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราช-ชนนี และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ภูมิภาค.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2564). รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดยาเสพติดประจำปี 2564. สำนักยุทธศาสตร์, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2562). แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติดปี 2561. สำนักยุทธศาสตร์, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.

สุณี อาวรณ์, และวิทยา โครตท่าน. (2563). การพัฒนารูปแบบบริการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพยาเสพติดในสถานประกอบการอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ, 1(2), 72-85.

สุรีรัตน์ ปราณี. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการบำบัดผู้ติดยาเสพติดกรณีศึกษาศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี. ใน 3rd National and International Conference on Administration and Management; 26-27 มกราคม 2560 (หน้า 72-79). มหาวิทยาลัยรังสิต.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, รวิวรรณ ตัณติพิวัฒนสกุล, และวนิดา พุ่มไพศาลชัย. (2545). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI). โรงพยาบาลสวนปรุง.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, และพิมพ์มาศ ตาปัญญา. (2541). การสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง. วารสารสวนปรุง, 13(3), 1-20.

อาภาศิริ สุวรรณานนท์. (2558). การศึกษารูปแบบการดำเนินงานด้านการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 11(2), 213-222.

เอกรัตน์ หามนตรี. (2561). ความสำเร็จของชุมชนในการปูองกันและแก้ไขปัญหาเยาวชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดยาเสพติดในจังหวัดอ่างทอง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(2), 434-451.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1998). The action research planer (3rd ed.). Deakin University.

United Nations Office on Drugs and Crime. (2022). World drug report 2022. https://www.unodc.org/res/wdr2022/MS/WDR22_Booklet_1.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-01