การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบโภชนาการของโรงเรียนบ้านโชคนาสาม อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ศิริรัตน์ แก้วประเสริฐ กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์
  • รัตนา คำศรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ดาริณ โพธิ์แก้ว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

โรงเรียนต้นแบบโภชนาการ , โภชนาการ, การพัฒนา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบโรงเรียนต้นแบบด้านโภชนาการสำหรับเด็กวัยเรียน และประเมินผลการพัฒนารูปแบบโรงเรียนต้นแบบด้านโภชนาการของโรงเรียนบ้านโชคนาสามอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ การดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1) การศึกษาบริบท โดยการศึกษาเอกสาร การสนทนากลุ่ม จำนวน 12 คน โดยเป็นบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการโรงเรียน และการสำรวจสถานการณ์ภาวะโภชนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-6 จำนวน 201 คน 2) กระบวนการพัฒนารูปแบบ โดยการวางแผนร่วมกันและการลงมือปฏิบัติ 3) การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบด้านโภชนาการ โดยการสังเกตผลการปฏิบัติงาน การสะท้อนการปฏิบัติงาน และสรุปผลจากการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบด้านโภชนาการ 

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบโรงเรียนต้นแบบด้านโภชนาการ ประกอบด้วย 1) นโยบายและการวางแผนการดำเนินการด้านโภชนาการที่ชัดเจน  2) การสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในรูปของคณะกรรมการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม มีทุนสนับสนุนทั้งภายในและภายนอกชุมชน 3) การดำเนินการด้านโภชนาการ ได้แก่ พัฒนาความรู้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการจัดอาหารกลางวันโดยใช้เมนูอาหารตาม Thai School Lunch ใช้รูปแบบการบริหารจัดการอาหารกลางวัน ส3 สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ สร้างสุขนิสัย (Healthy) สุขาภิบาล (Sanitary) และสุขภาพ (Health) 4) การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่บูรณาการกับการดำเนินการด้านโภชนาการทุกระดับชั้น 5) การเฝ้าระวังและการแก้ปัญหาภาวะโภชนาการอย่างต่อเนื่อง และพบว่าความพึงพอใจของผู้ร่วมพัฒนารูปแบบต่อการพัฒนารูปแบบโรงเรียนต้นแบบด้านโภชนาการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.61, SD = 0.47 ) 

ข้อเสนอแนะ การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบด้านโภชนาการ ควรมีการกำหนดนโยบาย วางแผน สร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่าย มีการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมและมีทุนสนับสนุนจากภายในและภายนอกหน่วยงาน  ขยายผลต่อสถาบันการศึกษาอื่นต่อไป

References

กองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2559). คู่มือการดำเนินงานกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน. โรงพิมพ์ สกสค.

กระทรวงสาธารณสุข, กรมอนามัย, สำนักโภชนาการ. (2564). คู่มือการใช้เกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของเด็กอายุ 6 – 19 ปี (พิมพ์ครั้งที่ 2 ฉบับปรับปรุง). ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์.

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2564). Thai School Lunch. https://www.nectec.or.th/innovation/innovationsoftware/thaischoollunch.html

ปรางทิพย์ เจี้ยมกลิ่น, พิมผกา ธรรมสิทธิ์ และวจี ปัญญาใส. (2564). การถอดบทเรียนความสำเร็จของรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนต้นแบบอาหารกลางวันดีเด่นระดับประเทศในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(7), 14-30

โรงเรียนบ้านโชคนาสาม. (2563). รายงานภาวะสุขภาพของนักเรียน. โรงเรียนบ้านโชคนาสาม อำเภอปราสาทจังหวัดสุรินทร์

ศูนย์อนามัยที่ 9. (2564). คู่มือการปฏิบัติงานการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนวัยรุ่น ปีงบประมาณ 2564. https://hpc9.anamai.moph.go.th/th/younger3.

สาธิต เมืองสมบูรณ์, ทวีศักดิ์ เตชะเกรียงไกร, พรทิพย์ พสุกมลเศรษฐ์, อาพร แจ่มผล, ปาริสุทธิ์ เฉลิมชัยวัฒน์, ฤทัย เรืองธรรมสิงห์, อัญชนีย์ อุทัยพัฒนาชีพ, ทิพากร ม่วงถึก และวัลลภา โพธาสินธ์. (2562). ผลของตำรับอาหารไทยมื้อกลางวันที่มีต่อภาวะโภชนาการรของเด็กวัยเรียน :กรณีศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(1), 284-301

Kemmis, S., & McTaggart, R. (Eds.). (1988). The action research planner. (3rd ed.). Deakin University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29