ผลของการวางแผนจำหน่ายต่อความรู้ของผู้ดูแลและการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยเด็กโรคหอบหืด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ งานผู้ป่วยในกุมารเวชกรรมโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยเด็กโรคหอบหืด , ผู้ดูแล , การวางแผนจำหน่าย , การกลับมารักษาซ้ำบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองและวัดกลุ่มเดียวก่อนหลังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการวางแผนจำหน่ายต่อความรู้ของผู้ดูแลและการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยเด็กโรคหอบหืด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลหลักของเด็กที่เป็นโรคหอบหืด และผู้ป่วยเด็กโรคหอบหืด จำนวนกลุ่มละ 24 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวปฏิบัติการวางแผนการจำหน่ายแบบ D-METHOD และแบบสอบถามวัดความรู้เกี่ยวกับโรคหอบหืด และ แบบบันทึกการกลับมารักษาซ้ำ ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่น Kuder-Richardson -20 (KR-20) เท่ากับ .72 วิเคราะห์เปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับโรคหอบหืดในเด็กของผู้ดูแลระหว่างก่อนและหลังวางแผนจำหน่ายโดยใช้สถิติ Paired t-test
ผลการวิจัยพบว่าหลังการใช้การวางแผนจำหน่ายผู้ดูแลเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ มีความรู้เกี่ยวกับโรคหอบหืดในเด็กเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และไม่มีการกลับมารักษาซ้ำ
ดังนั้นโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อควรนำแนวปฏิบัติการวางแผนการจำหน่าย นำไปปรับใช้ใน หอผู้ป่วยพิเศษและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโดยเฉพาะประเด็นที่เน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น การใช้ยา การประเมินอาการหืดกำเริบ เพื่อป้องกันอาการหอบหืดกำเริบซ้ำในผู้ป่วยเด็กโรคหอบหืด
References
ฐิตินันท์ ไมตรี. (2558). ผลของการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเด็กโรคหืดต่อความรู้และทักษะของผู้ดูแล. โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ.
ฐิติมา แซ่แต้ และศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์. (2562). ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพ และสมรรถภาพปอดของเด็กวัยเรียนโรคหืด. วารสารพยาบาลตำรวจ, 11(1), 139-155.
ณฏฐพงษ์ พิมพ์โคตร, วีรศักดิ์ สืบเสาะ และดนัย วันดา. (2556). ผลของโปรแกรมการรับรู้ความสามารถตนเองและแรงสนับสนุนทางสังคม ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคหอบหืด. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 8(2), 89-99.
ทัศลาภา แดงสุวรรณ. (2559). โรคหืดในเด็ก (Childhood Asthma). วารสารกรมการแพทย์, 41(4), 5-15.
ปริศนา แผ้วชนะ และวีณา จีระแพทย์. (2557). ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันอาการหีดกำเริบของเด็กวัยเรียนโรคหอบหืด. โรงพยาบาลตาขุน.
พรทิภา ธิวงศ์, อารี ชีวเกษมสุข และวันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล. (2562). การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเด็กโรคหืด. วารสารพยาบาล, 69(2), 21-29
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ. (2563). สรุปข้อมูลประจำปีของหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม (รายงานประจำปี). โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ.
ละออง นิชรานนท์. (2562). ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อป้องกันอาการหอบหืดกำเริบซ้ำในผู้ป่วยเด็กที่ภาวะการหายใจล้มเหลวจากโรคหอบหืดในหอผู้ป่วยวิกฤติเด็ก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 2(2), 1-15.
สินีนาฏ เนาว์สุวรรณ และกิตติพร เนาว์สุวรรณ. (2560). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคหืด. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา, 18(1), 28-38.
สิริมาดา สุขสวัสดิ์, สุธิศา ล่ามช้าง และอุษณีย์ จินตะเวช. (2555). ผลของการโคชต่อการปฏิบัติของบิดามารดาในการดูแลเด็กที่เป็นโรคหอบหืด. โรงพยาบาลเชียงราย.
สิริรัตน์ ลีลาจรัส และสุนารี เจียรวิทยากิจ. (2558). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีมโนภาพการรับรู้ความเจ็บป่วย Common Sense กับการดูแลและการให้คำแนะนำผู้ป่วยโรคหืด. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 29(3), 137-152.
สุนันท์ ขาวประพันธ์, ปรีย์กมล รัชนกุล และสุวรรณา จันทร์ประเสริฐ. (2555). ผลของการดูแลสุขภาพที่บ้านต่อพฤติกรรมของครอบครัวในการดูแลเด็กโรคหืด. วารสารสภาการพยาบาล, 27(2), 108-121.
อกนิษฐ์ กมลวัชรพันธ์. (2556). การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเด็กโรคหืดอายุ 0-5 ปี โดยใช้รูปแบบD-M-E-T-H-O-D. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อรนลิน ไทยเจริญ. (2565). ประสิทธิผลของแนวทางปฏิบัติการดูแลรักษาของผู้ป่วยโรคหอบหืดกำเริบเฉียบพลันที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. โรงพยาบาลวังม่วงสัทธรรม.
อรพรรณ โพชนุกูล และสมบูรณ์ จันทร์สกุลพร. (2558). โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจในเด็ก. เทียนวัฒนาพริ้นติ้ง.
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). Lawrence Erlbaum Associates.
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39, 175-191.
World Health Organization Regional Office South-East Asia. (2013). Regional Action Plan for the Prevention and Control of Noncommunicable Diseases (2013–2020). Regional Committee. Sixty-sixth Session, New Delhi, India 10–13 September 2013.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น