ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตัวและสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่รักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ปัญญดา แก้วรัตน์ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
  • กล้าเผชิญ โชคบำรุง สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง , การปฏิบัติตัว , สมรรถภาพปอด , โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติตัวและระดับสมรรถภาพปอด และ ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตัวกับสมรรถภาพปอด ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่รักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จำนวน 193 คน เลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน 2564 โดยใช้แบบบันทึกค่าสมรรถภาพปอดและแบบสอบถามการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ซึ่งได้ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหากับผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาก เท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ระดับการปฏิบัติตัวและระดับสมรรถภาพปอดสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตัวกับสมรรถภาพปอดด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างโดยส่วนใหญ่มีระดับการปฏิบัติตัวในระดับดี กลุ่มตัวอย่างโดยส่วนใหญ่มีระดับสมรรถภาพปอดอยู่ในระดับปานกลาง การปฏิบัติตัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับสมรรถภาพปอดอย่างไม่มีนัยสำคัญที่ระดับ .05

ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ คือ แพทย์และพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วยต้องทำหาแนวทางในการคงไว้ซึ่งสมรรถภาพปอด และศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสมรรถภาพปอด อาจทำการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อการคงอยู่ของสมรรถภาพปอดที่ดีของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2561, 10 ตุลาคม). โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ

กระทรวงสาธารณสุข. https://dhes.moph.go.th/wp-content/uploads/2019/01/8.-one-page-COPD-edit-8-10-61.pdf

กาญจนา ใจเย็น. (2557). ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยมุสลิมโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

จเร บุญเรือง, จอม สุวรรณโณ, เรวดี เพชรศิราสัณห์, เจนเนตร พลเพชร และลัดดา เถียมวงศ์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะความเจ็บป่วย ภาวะสุขถาพ และลักษณะบุคคลกับการกำเริบรุนแรงเฉียบพลันที่เกิดขึ้นภายในช่วงระยะเวลาอันสั้นของผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง: การศึกษาติดตามไปข้างหน้า 3 เดือน วารสารวิชาการสาธารณสุข 25(6), 981-993.

นุชรัตน์ จันทโร, เนตรนภา คู่พันธวี และทิพมาศ ชินวงศ์. (2561). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อความสามารถในการจัดการอาการและอาการหายใจลำบากของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 38(3), 25-37.

บุณฑริกา ชาตรีวัฒนกุล, ธีรนุช ห้านิรัติศัย และวรรณี ศักดิ์สวัสดิ์. (2561). ผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดร่วมกับการใช้ยางยืดต่อการรับรู้สมรรถนะตนเองในการควบคุมอาการหายใจลำบาก และสมรรถภาพปอดในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 32(1), 157-172

ปิยะวรรณ กุวลัยรัตน์, กมลพร มากภิรมย์ และสุดฤทัย รัตนโอภาส. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะกำเริบและมารักษาที่แผนกฉุกเฉินของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(2), 29-41.

พรทิพย์ ศรีโสภา และเสาวนีย์ เหลืองอร่าม. (2562). ผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดที่บ้านร่วมกับการกดรัดทรวงอกด้วยแผ่นยางยืดในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารกายภาพบำบัด, 41(3), 138-147.

โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. (2563). ฐานข้อมูลงานเวชระเบียนโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาปีงบประมาณ 2563. โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา.

สุนันท์ ทองพรหม. (2552). ปัจจัยทำนายอาการกำเริบบ่อยในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมาลี ฝ่าซ่าย. (2556). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุมาลี ฝ่าซ่าย, นิตยา ภิญโญคำ และสุดารัตน์ สิทธิสมบัติ. (2559). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตัวการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดของผู้ที่เป็นผู้โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. พยาบาลสาร, 43(ฉบับพิเศษ), 48-58.

อุษา เอี่ยมละออ, เยาวเรศ สายสว่าง, ปิยะลักษณ์ ฉายสุวรรณ และอารีย์ โกพัฒนกิจ. (2561). อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงต่อการกลับมารักษาซ้ำใน 28 วัน ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในโรงพยาบาลอ่างทอง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12(2), 240-252.

Coop, K., & Gosnell, K. (2015). Adult health nursing (7th ed.). Elsevier Mosby.

Högman, M., Sulku, J., Ställberg, B., Janson, C., Bröms, K., Hedenström, H., Lisspers, K., & Malinovschi, A. (2018). 2017 Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease reclassifies half of COPD subjects to lower risk group. International journal of chronic obstructive pulmonary disease, 13, 165–173. https://doi.org/10.2147/COPD.S151016

Knowles, M.S. (1984). Self-directed learning: A neglected species. (3rd ed). Gulf Publishing.

Pellico, L. H. (2013). Focus on adult health: Medical–Surgical nursing. Lippincott Williams & Wilkins.

Shott, S. (1990). Statistics for health professionals. W.B. Saunders Company.

UCLA Institute for Digital Research and Education. (2020, March 17). G*Power version 3.1.9.7. UCLA: Statistical Consulting Group. https://www.psychologie.hhu.de/arbeitsgruppen/ allgemeine-psychologie-und-arbeitspsychologie/gpower.html

Wayne, W. D. (1995). Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences (6th ed.). John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-20 — Updated on 2022-06-20

Versions