ผลของการใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ต่อการตระหนักรู้ในตนเอง และการเข้าใจความรู้สึกผู้อื่นของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • อติพร ทองหล่อ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

คำสำคัญ:

จิตตปัญญาศึกษา, การตระหนักรู้ในตนเอง, การเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของการตระหนักรู้ในตนเอง และการเข้าใจความรู้สึกผู้อื่นก่อนและหลังการใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 1 จำนวน 101 คนที่เรียนวิชาทักษะการคิดและการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์  เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วยรูปแบบการใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษา และแบบสอบถามการตระหนักรู้ในตนเองและการเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น ซึ่งมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity Index: CVI) เท่ากับ 1 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาก (Cronbach’s alpha coefficient) ของแบบสอบถาม .70 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ paired t-test

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 94.06 มีอายุระหว่าง 18-19 ปี ร้อยละ 93.07 มีความตั้งใจเลือกเรียนพยาบาลเป็นอันดับ 1 ร้อยละ 77.23 มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ ร้อยละ 65.35 และมีเกรดเฉลี่ยสะสม 2.51 - 3.50 ร้อยละ 86.14 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบ พบว่าคะแนนเฉลี่ยการตระหนักรู้ในตนเองภายหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<.001 ส่วนคะแนนเฉลี่ยการเข้าใจความรู้สึกผู้อื่นก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน ดังนั้น การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาโดยบูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาสามารถพัฒนาให้นักศึกษาพยาบาลเกิดการตระหนักรู้ในตนเอง ซึ่งเป็นพื้นฐานนำไปสู่การเข้าใจผู้อื่นและการมีจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ได้ในอนาคตต่อไป

References

กาญจนา ศรีสวัสดิ์ และสายสมร เฉลยกิตติ. (2560). การคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล. เวชสารแพทย์ทหารบก, 70(3), 169-174.

ทับทิม วงศ์ประยูร และพรทิพย์ คำพอ. (2554). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ด้วยจิตตปัญญา. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.

ทัศนีย์ ทองประทีป. (2552).จิตวิญญาณมิติหนึ่งของการพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปัจจัยพื้นฐานแห่งการคิด. (2556). สืบค้นจาก http://seesanniezz.blogspot.com/2013/08/blog-post.html

ฤทัยรัตน์ ชิดมงคล และสมยศ ชิดมงคล. (2560). การคิดเชิงระบบ: ประสบการณ์การสอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบ. วารสารครุศาสตร์, 45 (2), 209-224.

ละเอียด แจ่มจันทร์ รวิภา บุญชูช่วย และสุนีย์ อินทรสิงห์. (2558). การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง: ถอดบทเรียนจากการเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 24(3), 1-14.

วรวรรณ จันทวีเมือง และทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ.(2559). นักศึกษาพยาบาลกับการพัฒนาสุขภาวะทางจิตวิญญาณ.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(3), 208-219.

วรินทร์ลดา จันทวีเมือง, กาญจน์สุนภัส บาลทิพย์ และอุษณีย์ เพชรรัชตะชาติ. (2561). ผลของโปรแกรม จิตตปัญญาศึกษาต่อสุขภาวะจิตวิญญาณของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 19(37), 84-102.

วรินทร์ลดา จันทวีเมือง, อุษณีย์ เพชรรัชตะชาติ, กาญจน์สุนภัส บาลทิพย์ และสกุนตลา แซ่เตียว. (2561). จิตตปัญญาศึกษากับการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตวิญญาณในนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชียฉบับสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์, 8(3), 51-66.

วิจารณ์ พานิช. (2558). ‘การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง’ Transformative learning. กรุงเทพมหานคร: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดัดส์.

วุฒิกรณ์ พันธุ์ยิ่งยก นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์ และฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ. (2559). การพัฒนางานบริการทางการพยาบาลด้วยจิตปัญญาศึกษา โรงพยาบาลซานคามิลโล จังหวัดราชบุรี. วารสารสุขศึกษา, 39(133), 11-23.

ศักดิ์ชัย อนันต์ตรีชัย. (2563). สอนนอกกรอบ: ครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงจากภายใน. สมุทรสาคร: พิมพ์ดี.

สถาบันพระบรมราชชนก. (2554). คู่มือการดำเนินการเพื่อให้เกิดอัตลักษณ์บัณฑิต สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: ยุทธรินทร์การพิมพ์.

สถาบันพระบรมราชชนก. (2556). อัตลักษณ์ของสถาบัน. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

อติพร ทองหล่อ. (2563). จิตตปัญญาในวิชาทักษะการคิด ใน ศักดิ์ชัย อนันต์ตรีชัย (บรรณาธิการ), สอนนอกกรอบ: ครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงจากภายใน (หน้า 101-107). สมุทรสาคร: พิมพ์ดี.

อนุวัติ คูณแก้ว. (2562). สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรัญญา บุญธรรม, มงคล ส่องสว่างธรรม, กมลณิชา อนันต์, ยุรี เชาวน์พิพัฒน์ และธันยาพร บัวเหลือง. (2561). การเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จันทบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 35(3), 296-303.

อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์ และชญาภา วันทุม. (2560). การทดสอบความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือวิจัย. วารสารการพยาบาลแฃะสุขภาพ, 11(2), 105-111.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28