แนวทางการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมิน CIPPiest ในการประเมินโครงการทางสุขภาพ

ผู้แต่ง

  • นฤมล เอกธรรมสุทธิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข;
  • สิรารักษ์ เจริญศรีเมือง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข;

คำสำคัญ:

โครงการทางสุขภาพ, การประเมินโครงการ, รูปแบบการประเมิน CIPPiest

บทคัดย่อ

ปัญหาสุขภาพเป็นปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ ดังนั้นจึงเป็นบทบาทสำคัญของบุคลากรทางสุขภาพในการจัดทำโครงการต่างๆเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น การประเมินผลโครงการเป็นขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญที่จะช่วยประเมินความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมหรือโครงการต่างๆที่กำลังดำเนินการ และเพื่อพิจารณาว่ากิจกรรมนั้นๆมีประสิทธิภาพเพียงใด รวมทั้งช่วยวิเคราะห์ความสอดคล้องของโครงการว่าตรงกับความต้องการของผู้รับบริการหรือไม่ รูปแบบการประเมิน CIPPiest เป็นรูปแบบการประเมินหนึ่งที่เหมาะสมในการประเมินโครงการทางสุขภาพ เพราะเป็นรูปแบบการประเมินที่เป็นระบบมีกระบวนการประเมินที่เป็นลำดับขั้นตอนชัดเจน มีความเป็นพลวัตร ข้อมูลได้จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่การเก็บข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลายทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ จึงสอดคล้องบริบทของโครงการทางสุขภาพที่ต้องอาศัยความมีส่วนร่วมของมีที่ผู้เกี่ยวข้องหลายระดับการดำเนินโครงการจึงจะประสบความสำเร็จ รูปแบบการประเมิน CIPPiest ประกอบด้วย การประเมินหลักใน 4 มิติ ได้แก่ การประเมินบริบท (Context) การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input) การประเมินกระบวนการ (Process) และการประเมินผลผลิต (Product) ซึ่งต่อมามีการขยายกรอบการประเมินผลผลิตเป็น 4 มิติย่อยเพื่อให้ครอบคลุมและเกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น ได้แก่ การประเมินผลกระทบ (Impact) ประเมินประสิทธิผล (Effectiveness) ประเมินการคงอยู่ (Sustainability) และการประเมินการถ่ายโยงความรู้ (Transition) โดยในแต่ละมิติของการประเมินจะมีรายละเอียดเพื่อให้ผู้อ่านมีความเข้าใจและสามารถนำแนวทางการประเมิน CIPPiest ไปใช้ประเมินโครงการทางสุขภาพให้ประสบผลตามที่ตั้งเป้าหมายไว้

References

เชาว์ อินใย. (2555). การประเมินโครงการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล, สมจิตร เรืองศรี, กิตติศักดิ์ ลักขณา และพรภิรมย์ หลงทรัพย์. (2560). การประเมินหลักสูตรแนวใหม่: CIPPiest THE NEW CURRICULUM EVALUATION: CIPPiest MODEL. วารสารพยาบาลตำรวจ, 9(2), 203-212.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2557). เทคนิคการประเมินโครงการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์.

เยาวดี รางชัยกุล วิบูลยศรี. (2556). การประเมินโครงการ แนวคิดและแนวปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). CIPP และ CIPPIEST มโนทัศที่คาดเคลื่อนและถูกต้องในการใช้. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(2), 7-24.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2558). โมเดล CIPP ที่เปลี่ยนไป: ความหมาย ความสำคัญ และพัฒนาการ. สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2(1), 3-10.

สมคิด พรมจุ้ย. (2562). เทคนิคการประเมินโครงการ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: จตุพรดีไซน์.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2559). วิธีวิทยาการประเมิน : ศาสตร์แห่งคุณค่า (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Ferris, H. A., & Devaney, A. (2017). Evaluation in Healthcare. Department of Public Health, HSE South. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/

Stufflebeam D. L, (2015). For applying CIPP evaluation model checklist: A tool the CIPP model to assess projects and programs. Western Michigan University. Retrieved from http://rszarf.ips.uw.edu.pl/ewalps/dzienne/cipp-model-stufflebeam2015.pdf

Stufflebeam D. L., & Shinkfield A. J. (2007). Evaluation theory, models & applications. San Francisco: Jossey-Bass.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-09