ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการตรวจเต้านมด้วยตนเองร่วมกับ แอปพลิเคชันไลน์ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • วัชรีวงค์ หวังมั่น นักศึกษาบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ดวงกมล ปิ่นเฉลียว สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ทิพย์ฆัมพร เกษโกมล วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ

คำสำคัญ:

ความรู้, การรับรู้ความสามารถ, พฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง, แอปพลิเคชันไลน์, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการตรวจเต้านมด้วยตนเองร่วมกับแอปพลิเคชันไลน์ของนักศึกษาพยาบาลต่อความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมและการตรวจเต้านมด้วยตนเอง การรับรู้ความสามารถของตนเอง และพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลหญิงที่กำลังศึกษาในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 1 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 20 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับแอปพลิเคชันไลน์ โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการรับรู้ความสามารถของตนเองของแบนดูรา มีระยะเวลา 8 สัปดาห์ และ 2) เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบทดสอบความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมและการตรวจเต้านมด้วยตนเอง (2) แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเอง และ (3) แบบสอบถามพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง มีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ .83, .88 และ .93 ตามลำดับ หาค่าความตรงเชิงเนื้อหาของแบบทดสอบความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและการตรวจเต้านมด้วยตนเองเท่ากับ 0.96 และค่าความตรงเชิงเนื้อหาของโปรแกรมฯ เท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที

ผลการวิจัยพบว่า คะแนนความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมและการตรวจเต้านมด้วยตนเอง การรับรู้ความสามารถในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาลหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

ข้อเสนอแนะต่อการนำผลการวิจัยไปใช้ โปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการตรวจเต้านมด้วยตนเองร่วมกับแอปพลิเคชันไลน์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับนักศึกษาหญิงสถาบันการศึกษาอื่น เพื่อเพิ่มความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง การรับรู้ความสามารถของตนเองและพฤติกรรมการตรวจเต้านมอย่างถูกต้องต่อไป

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. (2562). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2562. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.

นรินทร์ วรวุฒิ. (2556). มะเร็งเต้านม มหันตภัยร้ายใต้ทรวงอก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เพชรประกาย.

น้ำอ้อย ภักดีวงศ์ และนวรัตน์ โกมลวิภาต. (2561). การศึกษาเปรียบเทียบ ความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพ และการรับรู้ความสามารถตนเองของนักศึกษาหญิงระหว่างกลุ่มที่ตรวจและไม่ตรวจเต้านมด้วยตนเอง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 38(4), 68-78.

ประยูรศรี สุนันโฉ. (2551). ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริม. การตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีอายุ 35 -60 ปี ในเขตเทศบําลตําบลตลาดแค อําเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา.

มยุรี บุญวรรณ, ขนิษฐา นาคะ, และวิภาวี คงอินทร์. (2554). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะ แห่งตนต่อทักษะและความยั่งยืนในการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีกลุ่มเสี่ยง. ศรีนครินทร์ เวชสาร, 26(1), 17-24.

วรรณภา ปาณาราช, กนกพร หมู่พยัคฆ์ และปนัดดา ปริยทฤฆ. (2557). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองในสตรีวัยรุ่น. วารสารพยาบาลศาสตร์, 32(3), 52-63.

ศูนย์มะเร็งโรงพยาบาลสุรินทร์. (2560). ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล. โรงพยาบาลศูนย์สุรินทร์.

สุดาสินี สุทธิฤทธิ์. (2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมกำกับตนเองร่วมกับแอพพลิเคชั่นไลน์ของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้านที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ตำบลท่าโรงช้าง จังหวัดสุราษฎร์ธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สรารัตน์ ตระกูลรัมย์, และจารุวรรณ ไตรทิพย์ สมบัติ. (2562). ผลของโปรแกรมส่งเสริม การตรวจ เต้านมด้วยตนเองของสตรี อายุ 45-54 ปี ในเขตชุมชนบ้านห้วยจรเข้ ตำบลหินดาด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา, 24(2), 46-56.

เอมอร ชินพัฒนะพงศา และกนกวรรณ สุวรรณปฏิกรณ์. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค และการรับรู้ความสามารถกับพฤติกรรมการตรวจเต้านมตนเองของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 28(3), 14-29.

American cancer society. (2019). About breast cancer. Retrieved from https://www.cancer.org/cancer/breast-cancer/about/how-common-is-breast-cancer.html

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman and Company.

Cohen J. (1988) Set correlation and contingency tables. Apply Psychology Measurement. 12(4), 425-434.

Satitvipawee, P., Satitvipawee, P., Promthet, S., Pitiphat, W., Pitiphat, W., Kalampakorn, S., ... & Parkin, D. M. (2009). Factors associated with breast self-examination among Thai women living in rural areas in Northeastern Thailand. Journal of The Medical association of Thailand, 92(12), 29.

World health organization. (2019). Breast cancer. Retrieved from https://www.who.int/topics/cancer/breastcancer/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-21