ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อการเรียนกับพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนที่หนีเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • นิรุธ - มะโนมัย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • ทรงสุดา หมื่นไธสง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
  • วิไลพร พลสูงเนิน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • สันติ ยุทธยง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมหนีเรียน, เจตคติ, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

   การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อการเรียนกับพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนที่หนีเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กับกลุ่มตัวอย่างที่มีพฤติกรรมหนีเรียน จำนวน 98 ราย เครื่องมือวิจัยมีค่าความเที่ยงของเจตคติต่อการเรียนเท่ากับ 0.90 และพฤติกรรมหนีเรียน เท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อการเรียนกับพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนที่หนีเรียนโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีค่าเฉลี่ยอายุ 14.20 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 68.4 เจตคติต่อการเรียนโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.47, SD = 1.03) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือนักเรียนคิดว่าการศึกษาช่วยพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้น (M = 4.35, SD = 0.80) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือนักเรียนเชื่อคำกล่าวที่ว่า “ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด” (M = 2.48, SD = 0.96) พฤติกรรมการเรียนโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย (M = 2.24, SD = 1.13) พบค่าเฉลี่ยสูงสุดในหัวข้อ การผลัดวันประกันพรุ่ง เอาไว้ก่อน วันหลังค่อยทำ (M = 3.15, SD = 1.08) โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือนักเรียนออกนอกบริเวณโรงเรียนก่อนถึงเวลาเลิกเรียน (M = 1.60, SD = 0.91) ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อการเรียนกับพฤติกรรมการเรียนด้านลบของนักเรียนที่หนีเรียน ชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1-3 พบว่ามีความสัมพันธ์แปรผกผันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ r=-0.469, p =.01

 

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2556). ผลการรายงานสภาวการณ์เด็กและเยาวชนปี 2549-2550. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์).

เครือข่ายเสมารักษ์ กระทรวงศึกษาธิการ อุดรธานี. (2560). รายงานผลการปฏิบัติการเครือข่ายเสมารักษ์อุดรธานี และเจ้าหน้าที่เทศกิจเทศบาลนครอุดรธานี. อุดรธานี : ศูนย์เสมารักษ์อุดรธานี.

ชีวัน เขียววิจิตร. (2551). การศึกษารายกรณี นักเรียนที่มีพฤติกรรมหนีเรียน. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการแนะแนว, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เชิดศักดิ์ ใจยาบุตร. (2558). วิจัยในชั้นเรียนเรื่องปัญหานักศึกษาหนีเรียน. ลำปาง : วิทยาลัยการเทคนิคลำปาง. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

ทิพย์วรรณ สุขใจรุ่งวัฒนา และธีรศักดิ์ อุ่นอารมณ์เลิศ. (2553). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนที่ดีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดนครปฐม. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 1(2), 126-139.

ปิยธิดา ศรีจันดา. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการประพฤติผิดกฎระเบียบของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย: ศึกษาเฉพาะกรณี โรงเรียนในเขตจอมทอง จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยบริการ. 24(4), 1-10.

พิรุณโปรย สำโรงทอง. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเลกทรอนิกส์กับการจัดการเรียนรู้ตามคู่มือครู. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุวภัทร แกล้วกล้า. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาการเรียนของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนวัดเมธังกราวาส (เทศรัฐราษฎร์นุกูล) จังหวัดแพร่. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Best, J. W. (1997). Research in Education (3rd ed.). Englewood Cliffs N.J.: Prentice-Hall.

Ming, T., Ling, T., & Jaafar, N. (2011). Attitude and motivation of Malaysian secondary students toward learning English as a second language: A case study. The Southeast Asian Journal of English Language Studies, 17(1), 40-45.

Sengkey, V. G., & Galag, E. H. (2018). Student attitudes and motivation in learning English. Catalyst, 17, 115-122.

Yearwood, E. L., Pearson, G. S., & Newland, J. A. (2012). Child and Adolescent Behavioral Health: A Resource for Advanced Practice Psychiatric and Primary Care Practitioners in Nursing. West Sussex, UK : Wiley-Blackwell.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29