การศึกษาปัญหาการฝึกภาคปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยตามความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
คำสำคัญ:
การฝึกภาคปฏิบัติ, ปัญหาการฝึก, นักศึกษาพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัญหาของการฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยตามความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาล และ 2) เปรียบเทียบระดับปัญหาของการฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยตามความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตปีการศึกษา 2556 จำนวน 190 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบสองขั้นตอน (Two-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามปัญหาการฝึกภาคปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยตามความคิดเห็น เป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 55 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติที่ใช้ในการวิจัย One Way ANOVA
ผลการวิจัยพบว่า
- ระดับปัญหาของการฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยตามความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลแต่ละชั้นปี จำแนกรายด้าน พบว่า 1) ด้านบุคคลอยู่ในระดับปานกลาง ( x=2.64-3.38 , S.D.=0.75-1.07)2) ด้านอาจารย์ผู้นิเทศอยู่ในระดับระดับปานกลาง ( x=2.81-3.30, S.D. =0.80-1.03) 3) ด้านเพื่อนร่วมงานอยู่ในระดับปานกลาง ถึง มาก ( x=2.81-3.55, S.D. =0.68-1.03)4) ด้านสถานที่/ระยะเวลาในการฝึกงานอยู่ในระดับปานกลาง ถึง มาก ( x=2.88-3.57, S.D. =0.76-1.25) 5) ด้านพยาบาลที่ปฏิบัติงานในแหล่งฝึกอยู่ในระดับระดับปานกลาง ( x=2.91-3.38 , S.D. =0.77-0.98) 6) ด้านองค์ความรู้ อยู่ในระดับปานกลางถึงมาก( x=2.93-3.57, S.D.=0.67-0.92) และ7) ด้านสุขภาพกายและจิตใจอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก ( x=2.95-3.65, S.D. =0.71-1.05)
- ผลการเปรียบเทียบระดับปัญหาของการฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยตามความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลระหว่างชั้นปี มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
นิสา เขมทัศน์. (2551). ความร่วมมือในการฝึกปฏิบัติในคลินิกของนักศึกษาพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนกในเขตภาคเหนือ ตามการรับรู้ของอาจารย์พยาบาลและพยาบาลวิชาชีพ.การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศรีสุดา งามขำ. (2539). พฤติกรรมการดูแลนักศึกษาพยาบาลของอาจารย์พยาบาลในการสอนทางคลินิก และทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธาธณสุข. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Bandura, A. (1977). Social Learning theory. Englewood Cliffs, N. J.: Prentice-Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น