การจัดการเชิงกลยุทธ์:
ยุทธวิธีตอบโจทย์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคุณภาพ
คำสำคัญ:
การจัดการเชิงกลยุทธ์, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบทคัดย่อ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นหน่วยบริการระดับชุมชนที่มีการพัฒนายกระดับเพื่อดูแลสุขภาพองค์รวม ผลกระทบจากสภาพแวดล้อมภายในองค์กรและภายนอกองค์กร ต้องมีการจัดการเชิงกลยุทธ์ ประกอบด้วย การวางแผนกลยุทธ์ การนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ การประเมินผลและการควบคุม ซึ่งจากการวิเคราะห์บริบทองค์กรตามกรอบแนวคิดนี้ มีข้อเสนอกลยุทธ์ ดังนี้ 1. พัฒนาคุณภาพการบริหารและการบริการให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์บริการสุขภาพปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA) แบบเครือข่ายบูรณาการไตรภาคี 2. เสริมสร้างแกนนำสุขภาพเชี่ยวชาญโดยภาคประชาชนเป็นศูนย์กลาง 3. เร่งรุดการเสริมภูมิต้านทานโรคทุกกลุ่มวัยโดยระบบหมอครอบครัว 4. พัฒนาศักยภาพจิตอาสาภาคประชาชนโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม 5. พัฒนาบุคลากรในหน่วยงานเพื่อรองรับการเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 6. ยกระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโดยระบบชุมชนเป็นเจ้าของ 7. ควบคุมโรคเรื้อรังโดยเร่งรุดปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคของประชาชน 8. เร่งรุดป้องกันปัญหาวัยรุ่นและผู้สูงวัยด้วยระบบครอบครัวชุมชนเข้มแข็ง ทั้งนี้ในการประยุกต์ขึ้นกับการพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ การนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติจะต้องแสดงความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย กลยุทธ์/กลวิธี แผนงาน/โครงการ ตามบริบทพื้นที่ด้วย และสื่อสารกับบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะช่วยให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติ สุดท้ายขั้นการประเมินผลและการควบคุมที่มีคุณภาพ ควรมีประเมินวิธีการดำเนินการปฏิบัติการ ประเมินกระบวนการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ และประเมินผลลัพธ์สุดท้ายของการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนของการพัฒนาการเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่มีคุณภาพ
References
นภคกร พูลประสาทและยุพเยาว์ วิศพรรณ์ (2556). การพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดจันทบุรี.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 24(2), 21-26.
จุฑามาส ภู่ศร. (2555). ปัญหาในการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กรณีศึกษา : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไร่เก่า อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์.
สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2557, จาก http://www3.ru.ac.th/mpa- abstract/files/2555_1380165835_23.pdf.
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ. (2554). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินการปฏิบัติตามนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.). นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.).
ณัฐวัฒน์ นิปกากรณ์. (2556). เอกสารประกอบการบรรยายการอบรมหลักสูตรพัฒนาศักยภาพผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเรื่องการบริหารเชิงกลยุทธ์. สุรินทร์: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์.
พสุ เดชะรินทร์. (2546). Balanced Scorecard รู้ลึกในการปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฏ์. (2552). การจัดการเชิงกลยุทธ์.กรุงเทพฯ : อักษรเงินดี.
วิภาพร วรหาญ. (2556). การบริหารเชิงกลยุทธ์ทางการพยาบาล. วารสารสมาคมพยาบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 4(31), 6-15.
สำนักพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. (2554). รายงานแผนยุทธศาสตร์ทศวรรษการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล พ.ศ. 2555-2564. กรงเทพฯ: สำนักพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ.
สำนักงานโครงการสนับสนุนนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. (2557). ความเป็นมาโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบล.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2557, จาก http://hph.moph.go.th/
สุรินธร กลัมพากร. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารงานกับผลการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพของสถานีอนามัยในจังหวัดนครปฐม. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา, 3(2), 35-43.
Frank, Cross. (2003). Strategic management and nurse: building foundations. Journal of Nursing Management, 11, 331-335.
Ginter, P.M., Swayne, E.L., & Duncan, J.W. (2002). Strategic Management of health Care Organizations. (4thed.). Conwall, United Kingdom: Blackwell Publishing.
People, T.L. and Sandera, F.N. (1994). Health care system redesign: A strategic management framework.Hospital. Material Management Quarterly, 16(2), 1-13.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น