พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • กิตติยา อาษากิจ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ โดยวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาพยาบาล ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลการเรียนและพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ กลุ่มเป้าหมายคือนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ชั้นปีที่ 1 - 4 จำนวน 406 คน ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2558 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

        ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 5 ครั้ง/วัน คิดเป็นร้อยละ 63.8 โดยช่วงเวลาที่ใช้อินเทอร์เน็ตบ่อยที่สุดคือ เวลา 20.01 – 23.00 น. คิดเป็นร้อยละ 76.01 ส่วนใหญ่อุปกรณ์ที่ใช้เป็นโทรศัพท์มือถือ คิดเป็นร้อยละ 86.5 นิยมใช้อินเทอร์เน็ตที่หอพักมากที่สุด เมื่อจำแนกรายด้านพบว่านักศึกษามีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตด้านจุดประสงค์ในการใช้อินเทอร์เน็ตด้านการศึกษามากที่สุด รองลงมาคือด้านเครื่องมือการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา และมีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตด้านความบันเทิงน้อยที่สุด จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาพยาบาลเป็นไปในได้การศึกษามากที่สุด ดังนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์ รวมทั้งผู้รับผิดชอบด้านไอที ควรมีการเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ให้มีความเสถียร และความครอบคลุม รวมทั้งควรมีการส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ต่อการเรียนการสอน

References

ชเนตตี สยนานนท์. (2555). พฤติกรรมและปัญหาการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการอุดมศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2557). อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียน สโตร์.

บุษรา ประกอบธรรม. (2552). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา การติดต่อสื่อสารและบันเทิงที่มีผลต่อช่วงเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. BU Academic Review, 8 (2), 56-68.

พัชรี ไชยฤกษ์. (2545). การศึกษาพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต, สาขาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

วราพร วันไชยธนวงค์และเกศราภรณ์ ชูพันธ์. (2557). การสำรวจพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต และผลกระทบของการใช้อินเทอร์เน็ตในนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 7 (3), 124-132.

วรรกร อัศวมงคลชัย, มานพ จิตต์ภูษา และชุ่มจิตต์ แซ่ฉั่น. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจุดประสงค์ทางวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.วารสารสงขลานครินทร์ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 12 (4), 577-596.

วรรณภา เพิ่มวณิชกุล. (2544). การใช้อินเทอร์เน็ตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาและนักศึกษาในเขตเทศบาลนครอุดรธานี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาเทคโนโลยีการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. งานฐานข้อมูลและสารสนเทศ. (2557). รายงานสรุปผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ ประจำปีการศึกษา 2557. สุรินทร์: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2552). เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร. กรุงเทพฯ :ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Young, K. (1998). Caught in the net: how to recognize the signs of internet addiction and a winning strategy for recovery. New York: John Wiely & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-24