การบริหารจัดการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง

กรณีตัวอย่าง หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

ผู้แต่ง

  • สุพิตรา เศลวัตนะกุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น)

บทคัดย่อ

       การบริหารจัดการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ที่เปิดดำเนินการตั้งแต่ปี 2552–2558 พบว่ามีกระบวนการบริหารจัดการ ได้แก่ การวางแผน การจัดระบบ การบริหารงานบุคคล การสั่งการ และการควบคุม ทำให้ประสบผลสำเร็จในการบริหารจัดการอบรมสามารถผลิตพยาบาลเวชปฏิบัติจำนวน 11 รุ่น มีผู้ผ่านการอบรม จำนวน 929 คน โดยมีปัจจัยแห่งความสำเร็จ ได้แก่ 1) การสร้างสัมพันธภาพที่ดี 2) การสร้างและพัฒนาทีมงาน  3) ความร่วมแรงร่วมใจทีมงาน  4) การถอดบทเรียนเพื่อพัฒนา  และ 5) การจัดการอบรมที่มีคุณภาพ  และพบว่าทีมงานบริการวิชาการและบุคลากรของวิทยาลัยมีการเรียนรู้เรื่องการบริหารจัดการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) ที่สามารถนำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับองค์กรอื่น จากประสบการณ์ที่วิทยาลัยสามารถดำเนินการการจัดการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง  สาขาเวชปฏิบัติ  (การรักษาโรคเบื้องต้น) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นกรณีตัวอย่างในการขอเปิดหลักสูตรเฉพาะทางสาขาอื่นๆ จากสภาการพยาบาลต่อไป 

References

ธร สุนทรายุทธ. (2553). การบริหารจัดการเชิงจิตวิทยา หลักการ การประยุกต์ และกรณีศึกษา. กรุงเทพ: เนติกุลการพิมพ์

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. (2552). หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาเวชปฏิบัติ (การรักษาโรคเบื้องต้น) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. สุรินทร์: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์.

สภาการพยาบาล. (2557). ประกาศสภาการพยาบาลเรื่อง เกณฑ์จัดทำหลักสูตรฝึกอบรมการพยาบาลเฉพาะทางและการบริหารจัดการหลักสูตร พ.ศ.2557 ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131 ตอนพิเศษ 38ง วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-24