A ความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
คำสำคัญ:
ระบบสารสนเทศ, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อระบบสารสนเทศของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ และเพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ระบบสารสนเทศของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์กลุ่มตัวอย่างคืออาจารย์และเจ้าหน้าที่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ที่เข้าใช้ระบบสารสนเทศของวิทยาลัยฯ จำนวน 62 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ระบบสารสนเทศที่กลุ่มตัวอย่างเข้าใช้มากที่สุดคือ ระบบงานพัฒนาบุคลากร และเป็นระบบสารสนเทศที่เข้าใช้งานร้อยละ 100 ด้านความถี่ในการเข้าใช้ระบบฐานข้อมูล พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เข้าใช้ระบบฐานข้อมูล 1–3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ด้านความพึงพอใจต่อระบบสารสนเทศ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจสูงที่สุดต่อระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( x= 3.92, S.D.=0.45) รองลงมาคือ ระบบสารสนเทศทะเบียนนักศึกษา มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( x=3.69, S.D.=0.62) ระบบงานพัฒนาบุคลากร มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( x=3.55, S.D. =0.80) ระบบจัดการข้อมูลวิชาการและผลงานวิจัย มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง ( x=3.49, S.D. =0.41) และมีความพึงพอใจน้อยที่สุดต่อระบบบริหารจัดการมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาโดยมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง (x = 3.34, S.D.=0.75) จากข้อมูลความพึงพอใจต่อระบบสารสนเทศของวิทยาลัยฯ ในแต่ละด้าน ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการเข้าใช้ระบบสารสนเทศของวิทยาลัย และสามารถใช้ระบบสารสนเทศเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช. (2554). ความพึงพอใจในการใช้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช.
มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่. สำนักงานอธิการบดี. (2555). รายงานผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจการให้บริการด้านอุปกรณ์การศึกษาและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ประจำปีการศึกษา 2555 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. (2555). ความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ ประจำปีการศึกษา 2554 ระหว่างเดือนมิถุนายน 2554 ถึง เมษายน 2555 สำนักวิทยาบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. เพชรบูรณ์: สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. กองแผนงาน. (2556). รายงานผลการประเมินระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและตัดสินใจมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม : กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มหาวิทยาลัยศิลปากร. คณะวิทยาศาสตร์. (2554). รายงานสรุปผลความพึงพอใจในการใช้บริการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.sc.su.ac.th/sc_new/iqa2554/sc7_3_3-1.pdf
วรกิจฮานาฟี.(2553).การศึกษาสภาพและความพึงพอใจต่อการดำเนินงานการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และ เขต 2.การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา).พระนครศรีอยุธยา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สถาบันพระบรมราชชนก. (2558). รายงานประจำปี 2557 สถาบันพระบรมราชชนก. นนทบุรี : สถาบันพระบรมราชชนก.
สมิต สัชชุกร.(2550). การต้อนรับและบริการที่เป็นเลิศ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สายธาร.
เอกพล เพ็ชรพลพันธ์, ภาณุเดช รุจิภักดิ์, ชัยพร กลางประพันธ์, กฤษณะ อินทเจริญศานต์, ชลธิชา ยิ้มย่อง และยมนา ทองคำ. (2549). การศึกษาความพึงพอใจต่อระบบสารสนเทศส่วนกลางของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น