การจัดทำยุทธศาสตร์การวิจัย :
จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
คำสำคัญ:
ยุทธศาสตร์การวิจัย, การสังเคราะห์ขอบเขตของผลงานวิจัยบทคัดย่อ
การกำหนดเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ส่งผลต่อการจัดการที่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน การขาดเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์การวิจัย อาจส่งผลให้การผลิตผลงานวิจัยไม่บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ วัตถุประสงค์ของบทความวิชาการนี้เพื่อนำเสนอแนวคิดการจัดทำยุทธศาสตร์การวิจัยสู่การปฏิบัติขององค์กร ในการกำหนดยุทธศาสตร์นั้นจำเป็นที่จะต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าองค์กรต้องการไปให้ถึงจุดใดหรือสภาพการณ์ไหน นอกจากนั้นยังต้องทราบสถานะว่า ณ ปัจจุบัน องค์กรอยู่ ณ สถานการณ์ใด ประเด็นต่อมาคือจะใช้วิธีการใดเพื่อไปให้ถึงสภาพการณ์ที่กำหนด และต้องการจำนวนการวิจัยมากน้อยเพียงใดเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของการรับรองสถาบันการศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษา การจัดทำยุทธศาสตร์การวิจัยขององค์กรเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ขององค์กร เพื่อให้การกำหนดยุทธศาสตร์การวิจัยขององค์กรมีความชัดเจนและมีทิศทางที่ชัดเจนมากขึ้น ใช้การสังเคราะห์ขอบเขตของผลงานวิจัย (Scoping review) เพื่อศึกษาสถานะด้านการวิจัยขององค์กร และการกำหนดเป้าหมายของการผลิตผลงานวิจัยจากปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ขององค์กร เป้าหมายของการประกันคุณภาพการศึกษา การรับรองสถาบัน ภารกิจที่ผู้บริหารรับถ่ายทอดมาจากระดับนโยบายหรือคำรับรองการปฏิบัติราชการ เกิดเป็นยุทธศาสตร์การวิจัย “สถาบันมีผลงานวิจัยแบบมุ่งเป้าโดยเน้นให้ทุกคนเป็นผู้วิจัยหลักอย่างน้อยหนึ่งผลงานภายใน 3 ปี” ส่งผลต่อการกำหนดเป้าหมายของการผลิตผลงานวิจัยที่ประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ประเด็นการวิจัย (2) การเผยแพร่ผลงานวิจัย (3) เงินทุนวิจัย (4) สมรรถนะด้านการวิจัยที่สอดคล้องกับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 นำไปสู่การกำหนดแผนงานโครงการหลัก 2 แผนงานคือ การพัฒนาการผลิตผลงานวิจัยแบบมุ่งเป้า และการพัฒนาเครือข่ายการวิจัย โดยอาศัยกลยุทธ์หลักคือผู้อำนวยการเป็นที่ปรึกษา รองผู้อำนวยการกลุ่มงานวิจัยเป็นผู้อำนวยการสร้าง ร่วมกับผู้เขียนบท หัวหน้างานวิจัยเป็นผู้กำกับและกำหนดนักแสดง และอาจารย์ประจำงานวิจัยเป็นผู้ช่วยผู้กำกับ
References
ไพบูลย์ โพธิ์สุวรรณ. (2555). การจัดทำยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: ธรรมดาเพรส.
Arksey, H., & O'Malley, L. (2005). Scoping studies: towards a methodological framework. International journal of social research methodology, 8(1), 19-32.
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น