กระบวนการดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลขอนแป้น จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ศุทธินี หล้ามาชน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ชัยวุฒิ บัวเนี่ยว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ศุภวดี แถวเพีย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยจิตเวช, กระบวนการดูแล, อาการทางจิต

บทคัดย่อ

 

           โรคจิตเภทเป็นโรคทางจิตเวชที่พบบ่อยซึ่งผู้ป่วยมีสภาพการเจ็บป่วยเรื้อรังจำเป็นที่ต้องได้รับการจัดการดูแลสุขภาพระยะยาว ซึ่งการศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขอนแป้น ตำบลคอแลน อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างจำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในครอบครัว จำนวน 8 คน กลุ่มภาคีเครือข่ายในชุมชน จำนวน 21 คน และบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้น 39 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ โดยจำแนกเป็น 2 ส่วน คือ ข้อมูลเชิงปริมาณ ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาเปรียบเทียบ ความแตกต่างก่อนและหลังดำเนินการด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่าหลังการพัฒนาผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในครอบ  ครัว มีระดับความรู้ในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทในระดับดีสูงขึ้นจากเดิมร้อยละ 37.50 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 87.50 ระดับทัศนคติต่อผู้ป่วยจิตเภทและระดับการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยจิตเภทได้รับการดูแลที่มีประสิทธิภาพและยังสามารถลดความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในครอบครัว ปัจจัยแห่งความสำเร็จของกระบวนการดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน คือผู้เข้าร่วมวิจัยในครั้งนี้ต่างมีบทบาทหน้าที่ที่ครอบคลุมในทุกด้านของการดูแลผู้ป่วยจิตเภท รวมทั้งความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เข้มแข็ง ทั้งในด้านการให้ข้อมูล ความร่วมมือในกระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการ ตลอดจนความร่วมมือในการดำเนินงานในทุกกิจกรรม

References

มาโนช หล่อตระกูล และคณะ. (2558). จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

เพ็ญประภา มะลาไวย์. (2550). การพัฒนาโครงการกระบวนการดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วรวรรณ สวนศรี. (2557). ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการนอนไม่หลับของผู้ป่วยจิตเภท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัฒนะ แก้วมะไฟ. (2555). การบำบัดเพื่อให้ผู้ป่วยรับประทานยาต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยจิตเภท ในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด. การศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2559). คู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนสำหรับบุคคลากรหน่วยบริการปฐมภูมิ. กรุงเทพมหานคร : แสงจันทร์การพิมพ์.

สำราญ สุมะหิงพันธ์ และคณะ. (2554). การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยจิตเวชโดยผู้ดูแลและภาคีเครือข่ายในชุมชน. ผลงานดีเด่นระดับเขตประจำปี 2555, 201-211.

สุทธดา บัวจีน. (2557). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและดูแลครอบครัวแบบย่อต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลและอาการทางจิตของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาทิตยา วังวันสินธุ์. (2557). การพัฒนาเครื่องมือประเมินการดูแลผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 โดยใช้รูปแบบการดูแลโรคเรื้อรัง ในมุมมองของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต, คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Sutthinee, L., & Bourneow, C. (2016). Occurrence in psychiatric relapsing in Boontharik District, Ubonratchathani, Thailand. The 10th National Health Research Forum, October 27-28, 2016, Savannakhet, Laos PDR.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-26