ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับต้นทุนชีวิตและพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ผู้แต่ง

  • วานิช สุขสถาน กลุ่มวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สุกัญญา บุญวรสถิต กลุ่มวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • มลฤดี โพธิ์พิจารย์ กลุ่มวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ต้นทุนชีวิต, พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้เป็นการสำรวจเชิงภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับต้นทุนชีวิตและพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลสวนสุนันทา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 – 4 วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาที่สมัครใจ ตอบแบบสอบถาม ซึ่งได้กลุ่มตัวอย่าง 310 คน ช่วงเวลาที่ใช้ในการศึกษา 5 มีนาคม - 20 มีนาคม พ.ศ. 2560 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์โดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Chi-Square และสถิติ Spear-man’s Rho Correlation Coefficient

          ผลการศึกษาพบว่านักศึกษาพยาบาลมีระดับต้นทุนชีวิตที่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 95.16 ไม่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 4.84 โดยมีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพโดยรวมทั้ง 6 ด้านอยู่ในระดับสูง (mean = 130.47, S.D. = 15.86) ได้แก่ ด้านการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านการพัฒนาทางจิตวิญญาณ ด้านกิจกรรมทางด้านร่างกาย และด้านการจัด การกับความเครียดอยู่ในระดับสูง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับต้นทุนชีวิตสุขภาพ คือ รายได้ต่อเดือน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ คือ ต้นทุนชีวิตและแรงสนับสนุนทางสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05)

          ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะให้ผู้บริหารและคณาจารย์หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตควรส่งเสริมให้นักศึกษาพยาบาลมีการส่งต้นทุนชีวิตของนักศึกษา และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพดีขึ้น คงไว้ซึ่งการมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารในระดับเหมาะสม การจัดการความเครียด และควรส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน และเป็นแบบอย่างที่ดีในการดูแลสุขภาพ

References

ชัชชัย อนุสรณ์ธีรกูล, การย์กวิน ภัทรธีนาถ, จุฑารัตน์ ชัยวีรพันธ์เดช, ภัสสร์วัลย์ รังสิปราการ, มานพ คณะโต และนฤมล สินสุพรรณ. (2551). การศึกษาเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตของนักศึกษาแพทย์มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับประชาชนที่ชุมชนสามเหลี่ยมในช่วงอายุเดียวกัน. ศรีนครินทร์เวชสาร, 23 (2), 200-206.

ณัฐภรณ์ ท้วมทอง. (2555).ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขศึกษา, มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ทวีศักดิ์ กสิผล, ภัทรา เล็กวิจิตรธาดา และอัจฉรา จินายน. (2555). ปจจัยคัดสรรที่มีอิทธิพลตอพฤติกรรมการ สรางเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก.วิชาการ, 15 (30), 31-46.

นันทวัน สุวรรณรูป และอัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์. (2547). การวิเคราะห์ความตรงและความเชื่อมั่นของแบบวัดวิถีการดำเนินชีวิตเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ - II ฉบับภาษาไทย. วารสารสภาการพยาบาล, 19(4), 44-63.

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (2559). คู่มือนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปี 2559. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ลักขณา ยอดกลกิจ และฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์. (2558). พฤติกรรมสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ. การประชุมวิชาการ ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา “การวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” 3–5 กันยายน 2558 โรงแรมรอยัลริเวอร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

วารุณี สันป่าแก้ว, วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม และสุภาวดี ลิขิตมาศกุล. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมและปัจจัยบางประการกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่นเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน. วารสารเกื้อการุณย์, 21(พิเศษ), 186-204.

ศิวาพร ทองสุข, พรรณวดี พุธวัฒนะ และพิศสมัย อรทัย. (2555). พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลรามาธิบดี. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 18(2), 178-189.)

สุกัญญา บุญวรสถิต, พรนภา หอมสินธุ์ และรุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของข้าราชการสังกัดกรมราชทัณฑ์ ในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 11(1), 52-62.

สุริยเดว ทรีปาตี. (2553). คู่มือการใช้แบบสํารวจต้นทุนชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สมุทรสาคร: แอ๊ปป้า พริ้นติ้ง กรุ๊ป.

สุริยเดว ทรีปาตี. (2555). ต้นทุนชีวิตเด็กและเยาวชนไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

สุริยเดว ทรีปาตี และพรรนิภา สังข์ทอง. (2552). การศึกษาเพื่อพัฒนาเครื่องมือแบบสำรวจต้นทุนชีวิตของเยาวชนไทย. วารสารกุมารเวชศาสตร์, 48, 42-7.

สมจิต หนุเจริญกุล, จอม สุวรรณโณ, นัยนา หนูนิล, ประคอง อินทรสมบัติ, รวมพร คงกำเนิด, วัลลา ตันตโยทัย และวิภาวรรณ ชะอุ่ม เพ็ญสุขสันต์. (บรรณาธิการ). (2543). การส่งเสริมสุขภาพ. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวง ศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัด กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ.

อมรรัตน์ ศรีคำสุข ไซโตะ, วิภาพร วรหาญ และวิพร เสนารักษ์. (2554). ความสุขของนักศึกษาพยาบาลหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 34(2), 70-79.

Pender, N.J., Murdaugh, C.L., & Parsons, M.A. (2006). Health promotion in nursing practice(5th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Fu-Sung, Lo, Hsiu-Yueh, Hsu, Bai-Hsiun Chen, Yann-Jinn Lee, Yu-Tsung Chen, & Ruey-Hsia Wang. (2016). Factors affecting health adaptation of Chinese adolescents with type 1 diabetes : A path model testing. Journal of Child Health Care, 20(1), 5–16.

Tripathi, S. (2011). Life assets of Thai children and youth. (5th ed.). Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-26