ทัศนคติและมุมมองต่อผู้สูงอายุ ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • สาคร อินโท่โล่ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม
  • อักษ์ศรา กะการดี วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม
  • เฌอร์นินทร์ ตั้งปฐมวงศ์ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม
  • พฤฒิศักดิ์ จันทราทิพย์ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม
  • พัชรีรัตน์ อันสีแก้ว วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม
  • สุภาพร ประนัดทา วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม
  • นุชนาถ บุญมาศ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม

คำสำคัญ:

นักศึกษาพยาบาล, ผู้สูงอายุ, มุมมอง, ทัศนคติ

บทคัดย่อ

            การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติและมุมมองต่อผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยศึกษาในกลุ่มประชากรจำนวนทั้งหมด 136 คน ซึ่งเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 การเก็บรวบรวมข้อมูลทัศนคติต่อผู้สูงอายุโดยใช้แบบสอบถามทัศนคติต่อผู้สูงอายุ เก็บข้อมูลมุมมองต่อผู้สูงอายุโดยใช้วิธีการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 มีทัศนคติในด้านบวกต่อผู้สูงอายุในระดับมากที่สุด (M = 4.28 ±0.809) ส่วนทัศนคติในด้านลบต่อผู้สูงอายุอยู่ในระดับมาก (M = 3.77 ± 1.012) ส่วนมุมมองต่อผู้สูงอายุ มี 2 ประเด็นหลัก คือ 1) ผู้ทรงคุณค่า ได้แก่ ผู้มีประสบการณ์สูง ผู้เป็นต้นแบบของลูกหลาน และผู้มีคุณธรรมสูง และ 2) ผู้มีความเปราะบาง ได้แก่ ร่างกายเสื่อมตามวัย เจ็บป่วยง่ายและหายช้า และต้องพึ่งพาผู้อื่น

          ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่านักศึกษามีทัศนคติเชิงบวกต่อผู้สูงอายุ และการมีมุมมองที่สะท้อนถึงความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ ซึ่งถือเป็นคุณสมบัติที่ดีที่สามารถส่งเสริมให้เป็นพยาบาลที่จะให้การดูแลผู้สูงอายุได้อย่างมีคุณภาพในอนาคตได้

Author Biography

สาคร อินโท่โล่, วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม

Khon Kaen University

References

กันยพัชร์ เศรษฐ์โชฎ๊ก. (2558). ทัศนคติต่อผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาลในมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา, 13(2), 3-16.

กาญจนา ตั้งชลทิพย์, ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์, เฉลิมพล แจ่มจันทร์, อุไรวรรณ คะนึงสุขเกษม, ภาณี วงษ์เอก และสุรีย์พร พันพึ่ง. (2553). คุณค่าผู้สูงอายุ: ภาพสะท้อนมุมมองจากคนสองวัย. ใน สุชาดา ทวีสิทธิ์ และสวรัย บุญยมานนท์ (บรรณาธิการ), ประชากรและสังคม: คุณค่าผู้สูงอายุในสายตาสังคมไทย. เอกสารวิชาการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (หน้า 29-61). นครปฐม: สำนักพิมพ์ประชากรและสังคม.

เฉลิมขวัญ สิงห์วี. (2558). ทัศนคติและพฤติกรรมเอื้อเฟื้อต่อผู้สูงอายุของนิสิตคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 23(2), 55-78.

เฉลิมพร เยือกเย็น. (2558). การศึกษาระดับความฉลาดของอารมณ์ของนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการและคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 4(2), 89-98.

ณัชชา ตระการจันทร์. (2561). ทัศนคติต่อผู้สูงอายุของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 3, นวัตกรรมที่พลิกโฉมสังคมโลก (หน้า 1213-1221). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี.

ดุษณี ยศทอง. (2562). ปัญหาการขาดแคลนพยาบาลและแนวทางการแก้ไข: การจัดการปัจจัยระดับบุคคล. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 20(38), 134-143.

ทัศนีย์ เกริกกุลธร, บังอร เผ่าน้อย และปานทิพย์ ปูรณานนท์. (2556). เจตคติและการรับรู้ความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลเพื่อการดูแลผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2-4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสระบุรี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 6(ฉบับพิเศษ), 116-125.

เบญจมาศ ยศเสนา. (2559). การเห็นคุณค่าผู้สูงอายุ. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน, 9(1), 1-14.

ปิ่นนเรศ กาศอุดม, กัลยาณี โนอินทร์, เสาวภา เด็ดขาด, วิจิตรา ปัญญาชัย, ศรีแพร เข็มวิชัย, เบญจวรรณ กันยานะ และกรรณิการ์ กาศสมบูรณ์. (2562). ทัศนคติต่อผู้สูงอายุของวัยรุ่น. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์, 9(2), 71-85.

รศรินทร์ เกรย์, อุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์, เฉลิมพล แจ่มจันทร์ และ เรวดี สุวรรณนพเก้า. (2556). มโนทัศน์ใหม่ของนิยามผู้สูงอายุ: มุมมองเชิงจิตสังคมและสุขภาพ. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร. (2557). สมรรถนะสำคัญของผู้บริหารมืออาชีพ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, 6(12), 165-183.

สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล, วิชช์ เกษมทรัพย์, วิชัย เอกพลากร และบวรศม ลีระพันธ์. (2561). โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการดูแลระยะยาว (Long-term care). กรุงเทพ: บริษัท ดีเซมเบอรี่ จํากัด.

Carreiro, S. (2012). Gender differences and perspectives on elderly care in China. Undergraduate Review, 8, 145-151.

Cheung, C. K., Cheung, M. C., & Jik, J. L. (1999). Beliefs about elderly people among social workers and the general public in Hong Kong. Journal of Cross- Cultural Gerontology, 14, 131–152.

Erickson, H. L. (2007). Philosophy and theory of holism. Nursing Clinics of North America, 42(2), 139-164.

Hooyman, N. R., & Kiyak, H. A. (1999). Social gerontology: a multidisciplinary perspective. Boston: Allyn & Bacon.

Knox, D., Kimuna, S., & Zusman, M. (2005). College student views of the elderly: some gender differences. College Student Journal, 39(1), 14.

North, M. S., & Fiske, S. T. (2015). Modern attitudes toward older adults in the aging world: A cross-cultural meta-analysis. Psychological Bulletin, 141(5), 993–1021.

Nyumba, T. O, Wilson, K., Derrick, C. J., & Mukherjee, N. (2018). The use of focus group discussion methodology: Insights from two decades of application in conservation. Methods in Ecology and Evolution, 9, 20-32. DOI: 10.1111/2041-210X.12860.

Strugala, M., Talarska, D., & Wysocki, D. (2016). Attitude towards the elderly among nursing students in Poland initial findings. Journal of gerontology & geriatric research. Res 5279. doi: 10.4172/2167-7182.1000279.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29