ความรู้ ความพึงพอใจ และอาการข้างเคียงจากการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดกึ่งถาวร ของมารดาวัยรุ่นในเขตจังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • สุมิตรา เนียมกัน โรงพยาบาลมะขาม จังหวัดจันทบุรี
  • จรัญญา ดีจะโปะ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

คำสำคัญ:

มารดาวัยรุ่น, ยาฝังคุมกำเนิดการใส่ห่วงอนามัย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความรู้ ความพึงพอใจ และอาการข้างเคียงหลังการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดกึ่งถาวร กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาวัยรุ่นหลังคลอดที่ใช้วิธีการคุมกำเนิดชนิดกึ่งถาวร เขตจังหวัดจันทบุรี จำนวน 255 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม 1) ข้อมูลทั่วไป 2) ความรู้เกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์และอาการข้างเคียงของยาคุมกำเนิดชนิดกึ่งถาวร 3) ความพึงพอใจเกี่ยวกับการคุมกำเนิดชนิด
กึ่งถาวร และ 4) อาการข้างเคียงหลังใช้ยาคุมกำเนิดชนิดกึ่งถาวร เก็บรวบรวมข้อมูลเดือนมิถุนายน 2560 ถึงเดือนมีนาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 77.87 มีความรู้เกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์และอาการข้างเคียงของยาคุมกำเนิดชนิดกึ่งถาวรอยู่ในระดับดี 2) มีความพึงพอใจหลังใช้ยาฝังคุมกำเนิดและใส่ห่วงอนามัยอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 3.73, S.D. = .024, gif.latex?\bar{x} = 3.59, S.D. =.033) ตามลำดับ และ 3) มีอาการข้างเคียงหลังใช้ยาฝังคุมกำเนิดมากกว่า 1 อาการขึ้นไป (ร้อยละ 66.30) และการใส่ห่วงอนามัยส่วนใหญ่มีอาการตกขาว (ร้อยละ 40.70)  ผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าบุคลากรทางด้านสาธารณสุขควรให้ความสนใจติดตามเกี่ยวกับอาการข้างเคียงจากการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดกึ่งถาวร และให้ความรู้ที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยลดอัตราการถอนยาฝังคุมกำเนิดหรือถอดห่วงอนามัยภายใน 5 ปี และลดอัตราการตั้งครรภ์ซ้ำในมารดาวัยรุ่นต่อไป

References

กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง, บุญฤทธิ์ สุขรัตน์, เอกชัย โควาวิสารัช, ประกายดาว พรหมประพัฒน์ และจันทกานต์ กาญจนเวทางค์. (บรรณาธิการ). (2558). คู่มือแนวทางปฏิบัติการดูแลแม่วัยรุ่น. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม.
กิ่งดาว มะโนวรรณ. (2554). แนวทางการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์: กรณีศึกษาโครงการคุณแม่วัยใสห่วงใยอนาคต ศูนย์ฝึกอาชีพสตรีจังหวัดเชียงราย อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย, วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 4(2), 63-80.
เกสร เหล่าอรรคะ, จินตนา บุญจันทร์, พรรณี กู้เกียรติกูล, เพียงจิตต์ ธารไพรสาณฑ์, บุษบา บุญกระโทก และมลฤดี ประสิทธ์. (2554). การคุมกำเนิดของวัยรุ่นที่มารับบริการที่หน่วยวางแผนครอบครัวโรงพยาบาลศรีนครินทร์. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 34(3), 40-47.
จันทรรัตน์ เจริญสันติ. (2561). การพยาบาลและการผดุงครรภ์ : สตรีในระยะตั้งครรภ์. เชียงใหม่ : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ฤดี ปุงบางกะดี่ และเอมพร รตินธร. (2557). ปัจจัยและผลกระทบจากการตั้งครรภ์ซ้ำของสตรีวัยรุ่นไทย: กรณีศึกษาในกรุงเทพมหานคร. Journal of Nursing Science, 32(2), 23-31.
ปัญญา สนั่นพานิชกุล และยศพล เหลืองโสมนภา. (2558). การตั้งครรภ์ในหญิงวัยรุ่น : ปัจจัยทางด้านมารดาที่มีผลต่อทารก. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 32(2), 147-156.
วัชรี เรือนคง, สมศักดิ์ สุทัศน์วรวุฒิ และจิรัตน์ ตั้งฐิตวงศ์. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกใช้ยาฝังคุมกำเนิดใต้ผิวหนังชนิดอีโทโนเจสเตรลในสตรีวัยรุ่นหลังคลอดครรภ์แรก. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 14(1), 9-16.
สุกัญญา ปวงนิยม และวันเพ็ญ แก้วปาน. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ซ้ำในแม่วัยรุ่นจังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 27(1), 30-41.
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. (2559). สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชน. สืบค้นจาก http://rh.anamai.moph.go.th.
อภิรดี จิรัฐิติกาลโชติ. (2559). ยาฝังคุมกำเนิด. สืบค้นจาก http://www.med.nu.ac.th/dpMed/fileKnowledge/62_2016-07-04.pdf
อำไพ จารุวัชรพาณิชกุล. (2557). สาระทางการพยาบาลมารดาทารกแรกเกิด และการผดุงครรภ์.โครงการตำรา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Aoun, J., Dines, V., Stovall, D., Mete, M., & Nelson, C. (2014). Effects of age, parity, and device type on complications and discontinuation of intrauterine devices. Journal of Obstetrics and Gynecology, 123, 585-592.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determinining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.
Wilson, E. K., Ghazaleh, S., Koo, H. P., & Tucker, C. (2011). Adolescent mothers’ postpartum Contraceptive use : A qualitative study, Perspectives on Sexual and Reproductive
Health, 43(4), 230-237.
World Health Organization (WHO), (2012). Adolescent health. Retrieved from http://www.who.int/topics/adolescent_health/en/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-24