โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารในกลุ่มเสี่ยงสูง โรคความดันโลหิตสูง ต????ำบลตาจั่น อ????ำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา FOOD CONSUMPTION BEHAVIORAL MODIFICATION PROGRAM IN HIGH-RISK GROUP OF HYPERTENSION, TAMBOL TAJAN, KHONG DISTRICT, NAKHONRATCHASIMA PRO

ผู้แต่ง

  • ธีทัต ศรีมงคล
  • ธราดล เก่งการพานิช
  • มณฑา เก่งการพานิช
  • ศรัณญา เบญจกุล
  • กรกนก ลัธธนันท์

คำสำคัญ:

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร, ความดันโลหิตสูง, แรงจูงใจในการป้องกันโรค, modification of food consumption behavior, Hypertension, Protection Motivation Theory

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
     การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนลดโอกาสป่วยเป็น
โรคความดันโลหิตสูงได้ การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารโดยประยุกต์แนวคิดทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคในกลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลตาจั่น อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 50 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มเท่า ๆ กัน กลุ่มทดลองเข้าร่วมกิจกรรมโปรแกรมจำนวน 5 ครั้ง ระยะเวลา 12 สัปดาห์ ประกอบด้วยกิจกรรม ทบทวนความรู้ สาธิตและฝึกทักษะการเลือกบริโภคอาหาร อภิปรายกลุ่ม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น การตั้งเป้าหมาย เรียนรู้คู่มือและแบบบันทึกพฤติกรรม การทำพันธะสัญญา เรียนรู้จากตัวแบบคำพูดชักจูงใจ กระตุ้นอารมณ์ทางบวก และทบทวนปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติ รวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองด้วยแบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกพฤติกรรมการบริโภคอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square test, Paired sample t-test, Wilcoxon signed-rank test, Independent’s t-test และ Mann-Whitney U test ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยง ความคาดหวังในประสิทธิผล ของการตอบสนอง ความคาดหวังในความสามารถของตนเอง ความตั้งใจปฏิบัติพฤติกรรม และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ระดับความดันโลหิต ลดลงกว่าก่อนการทดลอง และลดลงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่มีบริบทคล้ายคลึงกันสามารถนำโปรแกรมไปใช้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารป้องกันโรคความดันโลหิตสูงสำหรับกลุ่มเสี่ยงสูงได้และควรดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับชุมชนโดยประยุกต์ใช้โมเดลเชิงนิเวศวิทยา

Abstract
     Modification of food consumption behavior in the community would lower the opportunity to get hypertension.This quasi-experimental research aimed to assess the effects of a modified food consumption behavior program applying Protection Motivation Theory (PMT) in a high-risk group of hypertension, TambolTajan, Khong District, Nakhonratchasima Province. The samples were 50 high-risk persons, divided into two equal groups. The experimental group participated in the program for 5 sessions, for 12 weeks. The implemented activities including: review of knowledge, demonstration and practicing food selection, group discussion, exchanging of opinions, setting goals, studying the manual and behavior record form, contracting, learning from role models, verbal persuasion, positive emotional arousal, and reviewing problems/obstacles in performing desirable behaviors. Data were collected at before and after experimentation by using interview of schedule and food consumption behavior record form. Data were analyzed by using following statistics: frequency, percentage, mean, standard deviation, Chi-square test, Paired sample t-test, Wilcoxson signed-rank test, Independent’s t-test, and Mann-Whitney U test.
After the experimentation, the experimental group had significantly higher level of perceived
severity, perceived susceptibility, response expectation, perceived self-efficacy, intention to practice and food consumption behaviors than before the experiment and the comparison group (p<0.05) and had significantly lower level of blood pressure than before the experiment and the comparison group. Therefore, Sub-district Health Promotion Hospitals with similar contexts should utilize this food consumption behavioral modification program in high-risk group of hypertension. Besides, participatory action research focus on behavioral modification at the community level by applying ecological model should be emphasized.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-04-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย