ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสิ้นหวังของผู้ป่วยสูงอายุโรคซึมเศร้า ร่วมกับโรคทางกาย FACTORS RELATED TO HOPELESSNESS OF ELDERLY PATIENTS WITH DEPRESSIVE DISORDER AND PHYSICAL ILLNESS

ผู้แต่ง

  • นภัสสร ยอดทองดี
  • รังสิมันต์ สุนทรไชยา

คำสำคัญ:

ความสิ้นหวัง, ผู้สูงอายุ, โรคซึมเศร้า, โรคทางกาย, ความคิดเชิงลบ, hopelessness, elderly, depressive disorder, physical illness, negative attribution

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
       การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสิ้นหวัง และความสัมพันธ์ระหว่าง มุมมองเชิงเหตุผลด้านลบ
ความสามารถในการท????ำหน้าที่ ความสามารถในการแก้ปัญหา ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคม
ความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า กับความสิ้นหวังของผู้ป่วยสูงอายุโรคซึมเศร้าร่วมกับโรคทางกาย จ????ำนวน 132 คน
เครื่องมือรวบรวมข้อมูลคือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินมุมมองเชิงเหตุผล 3) แบบประเมิน
ความสามารถในการท????ำหน้าที่ของผู้สูงอายุ 4) แบบประเมินการแก้ปัญหา 5) แบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง 6) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม 7) แบบประเมินความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า 8) แบบประเมินความสิ้นหวัง ในผู้สูงอายุ เครื่องมือมีค่าความตรงเชิงเนื้อหา >.80 (.83, .88, .85, .92, .82, .90, .86 ตามล????ำดับ) และมีค่าความเที่ยง >.70 (.86, .97, .83, .84, .89, .91, .80 ตามล????ำดับ) วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
      ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยสูงอายุโรคซึมเศร้าร่วมกับโรคทางกายมีความสิ้นหวังอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 50
(Mean=16.06, SD=5.07) ความรุนแรงของภาวะซึมเศร้าและมุมมองเชิงเหตุผลด้านลบ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสิ้นหวัง (r=.388, p<.001 และ r=.276, p<.001) และการสนับสนุนทางสังคม ความสามารถในการแก้ปัญหาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและความสามารถในการท????ำหน้าที่มีความสัมพันธ์ทางลบกับความสิ้นหวัง           (r =-.578, p <.001, r = -517, p <.001, r = -.437, p<.001 และ r= -.216, p< .05 ตามลำดับ)

 Abstract

      The purpose of this descriptive research was to study hopelessness of elderly patients with depressive disorder and physical illness and relationships between negative attribution, physical function, problem solving skill, self-esteem, social support, depression severity and hopelessness. A sample was 132 elderly patients with depressive disorder and physical illness. The research instruments included:1) Personal Information Questionnaire 2) New Attributional Style Questionnaire 3) Late-life Function Instrument 4) Problem Solving Inventory (PSI) 5) Self-esteem Questionnaire 6) The personal resource questionnaire PRQ 85 Part II 7) Hamilton Rating Scale for Depression (HAM-D-17) 8) Geriatric Hopelessness Scale. All instruments were verified for content validity index >.80 (.83, .88, .85, .92, .82, .90, .86) and reliability >.70 (.86, .97, .83, .84, .89, .91, .80). Data were analyzed by
Pearson Product Moment Correlation coefficient.
        Results: 1) Hopelessness of elderly patients with depressive disorder and physical illness at a moderate level were 50 % ( Mean=16.06, SD = 5.07); 2) Depression Severity and Negative Attribution were significantly positive correlation with hopelessness (r=.388, p<.001, r=.276, p<.001, respectively), while social support, problem solving skill, self-esteem, and physical function were significantly negative correlation with hopelessness. (r =-.578, p <.001, r = -517, p <.001, r = -.437, p <.000, r= -.216, p< .05, respectively)

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-04-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย