การพัฒนากระบวนการแปลงองค์ความรู้สู่การปฏิบัติการพยาบาลครอบครัว DEVELOPMENT OF KNOWLEDGE TRANSLATION PROCESS TO FAMILY NURSING PRACTICE
คำสำคัญ:
กระบวนการ, การแปลงองค์ความรู้, การปฏิบัติการพยาบาลครอบครัว, process, knowledge translation, family nursing practiceบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาและทดสอบประสิทธิผลของกระบวนการแปลงองค์ความรู้สู่การปฏิบัติการพยาบาลครอบครัว กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ทำงานในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา การศึกษาแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่ม 22 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาระยะที่ 2 กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 22 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมกระบวนการแปลงองค์ความรู้สู่การปฏิบัติการพยาบาลครอบครัว 4 ครั้ง และกลุ่มควบคุมให้การพยาบาลตามปกติ เลือกโดยการสุ่มอย่างง่ายจากพยาบาลวิชาชีพทั้งหมดเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามทัศนคติและความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลครอบครัว เก็บข้อมูลก่อนทดลอง หลังทดลอง 2 สัปดาห์ และติดตามผล 2 และ 4 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ
ผลการวิจัยมีดังนี้ ระยะที่ 1 พบว่าพยาบาลเห็นความสำคัญของการพยาบาลครอบครัว แต่มีองค์ความรู้ในการพยาบาลครอบครัวไม่เพียงพอ ขาดทักษะในการสนทนากับครอบครัว และมีความเข้าใจว่าการพยาบาลครอบครัวมีความยุ่งยากเพราะต้องให้กับสมาชิกครอบครัวทุกคนพร้อมกัน ทำให้กังวลและไม่มั่นใจว่าจะดูแลครอบครัวได้ ส่วนระยะที่ 2 พบว่าหลังจากเข้าร่วมกระบวนการแปลงความรู้สู่การปฏิบัติการพยาบาลครอบครัว พยาบาลกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนทัศนคติและความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวสูงกว่ากลุ่มควบคุมทั้งในระยะหลังทดลอง 2 สัปดาห์ และระยะติดตามผล 2 และ 4 เดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 พยาบาลกลุ่มทดลองมีทัศนคติและความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวในระยะก่อนการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับระยะหลังทดลอง 2 สัปดาห์ระยะติดตามผล 2 และ 4 เดือน และระยะหลังทดลอง 2 สัปดาห์ กับระยะติดตามผล 2 เดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทึ่ระดับ .01 แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่าง ระยะติดตามผล 2 และ 4 เดือน การวิจัยนี้ชี้ว่ากระบวนการแปลงความรู้สู่การปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวนี้สามารถพัฒนาคุณภาพการพยาบาลครอบครัว การศึกษาต่อไปควรศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมกับกลุ่มตัวอย่างที่มากขึ้น
Abstract
This mixed method research aimed to develop and test effectiveness of the knowledge translationprocess to family nursing practice on attitude and ability to provide family nursing care. The participantswere registered nurses working the Burapha University hospital. The study was divided into two phases.In the first phase, 22 nurses participated in the focus group discussion and content analysis was used for data analysis. The second phase included 22 nurses who were simple random sampling into the experimental group receiving 4 sessions of the knowledge translation process and 22 nurses in the control group receiving usual care. Demographic record form and the attitude toward family nursing and ability to family nursing practice questionnaire were used to collect data. Data collection was conducted at baseline, 2 weeks after the experiment, and 2 and 4 months follow up. Repeated Measures ANOVA was used to analyze data.
Findings from the first phase revealed that nurses perceived significance of family nursing but lacked of knowledge and skills about family nursing, especially communicate with family. They believed that family nursing was difficult since it had to care for every family member at the same time which caused them low confident in family nursing practice. The results of the second phase found that the average scores of attitude and ability to provide family nursing in the experimental group were significantly higher than those in the control group at 2 weeks after experiment and 2 and 4 months follow up (p< .01). In the experimental group, the average scores of attitude and ability to provide family nursing were significantly different between at baseline and 2 weeks after the experiment as well as 2 and 4 months follow up, and between at 2 weeks after the experiment and 2 and 4 months follow up (p< .01); but there were no significant difference between at 2 and 4 months follow up (p> .05). This study indicates that the knowledge translation process to family nursing could improve the family nursing care. A randomized control trial with a larger sample size is needed for future studies.
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น