รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ TEACHING MODEL TO ENHANCE CREATIVE PROBLEM SOLVING

ผู้แต่ง

  • ชญาภรณ์ เอกธรรมสุทธิ์
  • ปภาวดี ทวีสุข
  • นันธิดา วัดยิ้ม

คำสำคัญ:

, การแก้ปัญหา, การคิดสร้างสรรค์, การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์, creative problem solving, problem solving, creative thinking

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

           การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 มุ่งเน้นที่ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน การคิดและแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เป็นผลลัพธ์การเรียนรู้ที่สำคัญของบัณฑิตในศตวรรษที่ 21    ในวิชาชีพพยาบาล การคิดแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์เป็นความสามารถที่สำคัญมากสำหรับการตัดสินใจทางคลินิก คุณภาพการพยาบาล และผลลัพธ์ทางการพยาบาล 

           ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ประกอบด้วยกระบวนการแก้ปัญหา ผ่านกระบวนการคิดสร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนและพัฒนาได้  กระบวนการดังกล่าวเป็นหน้าที่ที่สำคัญของผู้สอนที่มีส่วนช่วยให้ผู้เรียนเกิดทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอเกี่ยวกับ ความหมายของการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ แนวคิดและรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามแนวคิดการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเทรฟฟินเจอร์ และไอแซคเซน (Treffinger & Isaksen, 2005) และแนวทางการนำรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์นี้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาล เพื่อให้นักศึกษาพยาบาลมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ต่อไป

Abstract

           Education management in the 21st century has emphasized on learning outcomes of the learners.  Creative problem solving is an important learning outcome of the learners in the 21st century.  In a nursing profession, creative problem solving is the most important essence of clinical judgment for quality patient care and patient outcomes.

           Creative problem solving is composed of a process of problem solving through creative thinking process and critical thinking process.  It can be trained and developed by 

effective teaching and learning management.  This article aimed to present definition,

concept and model of teaching and learning to develop creative problem solving based on

creative problem solving concept of Treffinger & Isaksen (2005). Finally, the teaching model to enhance creative problem solving in nursing education is also proposed and discussed.  

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-09-01

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ