A COMPARISON OF PSYCHOLOGICAL WELL-BEING BETWEEN HIV-POSITIVE AND HIV-NEGATIVE ADOLESCENT AIDS ORPHANS การศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของสุขภาวะทางจิตระหว่างเด็กวัยรุ่นกำพร้าจากเอดส์ที่ติดเชื้อเอชไอวีและเด็กวัยรุ่นกำพร้าจากเอดส์ที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี

ผู้แต่ง

  • จิดาภา ผูกพันธ์
  • จินตนา วัชรสินธุ์
  • วรรณี เดียวอิศเรศ

คำสำคัญ:

เด็กวัยรุ่น กำพร้า, เอชไอวี, สุขภาวะทางจิต, adolescent AIDS orphans, HIV/AIDS, psychological well-being

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          สุขภาวะทางจิตสามารถส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า ความโดดเดี่ยว ความสิ้นหวัง เด็กวัยรุ่นกำพร้าจากเอดส์ที่ติดเชื้อเอชไอวีมีแนวโน้มที่จะมีภาวะความกดดันทางจิตใจ ดังนั้นการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายและเปรียบเทียบสุขภาวะทางจิตของเด็กวัยรุ่นที่กำพร้าจากเอดส์ระหว่างกลุ่มที่ติดเชื้อเอชไอวีและไม่ติดเชื้อเอชไอวี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสุ่มอย่างแบบแบ่งกลุ่มจาก 10 อำเภอ ในจังหวัดมหาสารคาม จากเด็กวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวี จำนวน 47 คนและไม่ติดเชื้อเอชไอวี จำนวน 51 คน โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบวัดสุขภาวะทางจิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และindependent t-test

         ผลการศึกษาพบว่าเด็กวัยรุ่นที่กำพร้าจากเอดส์ที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวีมีค่าเฉลี่ยคะแนนสุขภาวะทางจิตสูงกว่าเด็กวัยรุ่นที่กำพร้าจากเอดส์ที่ติดเชื้อเอชไอวีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 2.48, p <.05)  สุขภาวะทางจิตของเด็กวัยรุ่นที่กำพร้าจากเอดส์ที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวีมีคะแนนสุขภาวะทางจิตอยู่ในระดับสูง และเด็กกำพร้าจากเอดส์ที่ติดเชื้อเอชไอวีมีคะแนนสุขภาวะทางจิตอยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการปฏิบัติการพยาบาล และเป็นประโยชน์สำหรับการศึกษาวิจัยต่อไป พยาบาลหรือทีมสุขภาพควรให้ความสนใจที่จะส่งเสริมสุขภาวะทางจิตให้เด็กวัยรุ่นที่กำพร้าจากเอดส์ที่ติดเชื้อเอชไอวีเหล่านี้   

Abstract

          Psychological well-being can contribute to mental health problems, such as depression, loneliness, and the feeling of hopelessness. HIV-positive adolescent orphans tend to exhibit high psychological distress. The purpose of this research was to describe and compare the psychological well-being among adolescent AIDS orphans: forty-seven      HIV-positive adolescent orphans and 51 HIV-negative adolescent orphans. Cluster random sampling was employed to obtain adolescent AIDS orphans from 10 districts of Mahasarakham province in Thailand. Data were collected by using the Demographic Record Form and the Psychological Well-being Scale, and the data were analyzed by using descriptive statistics and independent t-test.

            The results of this study revealed that  mean scores for the psychological well-being of the adolescent AIDS orphans with non-HIV infection were significantly higher than the adolescent AIDS orphans with HIV infection (t = 2.48, p < .05). The psychological well-being was at a high level among the non-HIV-infected adolescent orphans and at a moderate level among the HIV-infected adolescent orphans. The findings of this study can be utilized for implementation in nursing practice and in further research. Professional nurses or healthcare providers should pay attention to the improvement of the psychological well-being of HIV-infected adolescent AIDS orphans. 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-09-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย