ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความเครียดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น FACTORS AFFECTING STRESS AMONG PREGNANT ADOLESCENTS

ผู้แต่ง

  • ขวัญตา บุญวาศ
  • ศศิธร คำพันธ์
  • ชุติกาญจน์ แซ่ตั้น

คำสำคัญ:

หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น, ระดับความเครียด, ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความเครียด, แรงสนับสนุนทางสังคม, teenage pregnancy, stress level, predictor, social support

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความเครียดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น  2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดกับระดับความเครียดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น 3) ปัจจัยทำนายความเครียดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มีอายุอยู่ในช่วง 13 - 19 ปี ที่มารับบริการฝากครรภ์ในหน่วยฝากครรภ์โรงพยาบาลตรัง จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แรงสนับสนุนทางสังคม และ ระดับความเครียดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ.85 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ค่าสัมประสิทธิ์อีตา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า

          1. หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ มีความเครียดอยู่ในระดับเล็กน้อยคิดเป็นร้อยละ 61

          2. รายได้ของครอบครัว ความเพียงพอของรายได้ อายุครรภ์ ความวิตกกังวลมีความสัมพันธ์ กับระดับความเครียดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส ความสัมพันธ์ระหว่างเครือญาติ ความต้องการมีบุตร มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และแรงสนับสนุนทางสังคมโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเครียดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

           3.  ปัจจัยที่สามารถทำนายความเครียดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น คือ ปัจจัยด้านความเพียงพอของรายได้ และสาเหตุที่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ โดยมีสมการดังนี้สมการคะแนนดิบ         

           4. ความเครียด = 0.116+0.334(ความเพียงพอของรายได้) +0.102(สาเหตุที่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์)

Abstract

          The purposes of this study were 1) to identify a level of stress among pregnant teenagers, 2) to examine  relation between selective factors  and a stress level of pregnant teenagers, and 3) to study predictors of stress among pregnant teenagers . The participants were 100 pregnant teenagers, who attended the antenatal care department, Trang hospital. Three questionnaires used for data collection included personal information questionnaire, social support questionnaire, and stress questionnaire.  Data were analyzed by using descriptive statistics, Pearson Product Moment correlation coefficient, Eta coefficient, and Stepwise Multiple Regression.  The study results revealed that:

  1. Sixty-one percentages of participants had mild level of stress.
  2. By using Eta coefficient to analyze the relation between selective factors and stress level of pregnant teenagers, it showed that household income, adequacy of income, gestational age, and anxiety significantly and positively related to the stress level of pregnant teenagers (p-value < 0.05).  Cause of pregnancy, relationship of marriage couple, relationship among relatives, and a desire to have children correlated with stress level of pregnant teenagers with statistical significance (p-value < 0.01).  In addition, overall social support had a negative relationship with stress level of pregnant teenagers  with statistical significance (p-value < 0.05). 
  3. The predictors of stress among pregnant teenagers were adequacy of income and cause of pregnancy as a following equation.
  4. stress  =  0.116+0.334 (adequacy of income) +0.102 (cause of pregnancy)

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-09-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย