ผลของการให้โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพแก่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กรณีศึกษาศูนย์สุขภาพ ชุมชนโพหวาย THE EFFECTS OF HEALTH PROMOTION PROGRAMS FOR PATIENTS WITH TYPE 2 DIABETES AT PHO WAI PRIMARY CARE UNIT

ผู้แต่ง

  • เนาวรัตน์ ศักดา
  • เพลินตา เรืองสูง
  • ยุวดี วิทยพันธ์
  • อติญาณ์ ศรเกษตริน
  • สุทธานันท์ กัลกะ

คำสำคัญ:

โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพ, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้, Health promotion program, uncontrolled diabetes mellitus, self-care behaviors

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

   การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experiment) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพแก่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ และมารับการรักษาที่คลินิกเบาหวาน ศูนย์สุขภาพชุมชนโพหวาย เครือข่ายโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จำนวน 30 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบทดสอบความรู้ และแบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน หาค่าความตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.60 ทุกข้อ ค่าความเทียงของแบบทดสอบความรูของคูเดอร์ริชาร์ดสันเท่ากับ 0.64 และแบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเอง ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test)

   ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรูภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ทีควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพไม่แตกต่างกัน และ 3) ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด (HbA1C) ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .001

Abstract

      This quasi-experimental study aimed to study the effects of health promotion program for people with uncontrolled diabetes mellitus type II at Pho Wai Primary Care Unit, Surat Thani. Thirty subjects with uncontrolled diabetes mellitus type II using service at Pho Wai Primary Care Unit were recruited by purposive sampling into the study. The research instruments were Health Promotion Program, knowledge and self-care behaviors questionnaire. The content validity was 0.60. Kuder Richardson coefficient reliability of the knowledge questionnaire was reported at 0.64 and Cronbach’s Alpha coefficient of the self-care behaviors questionnaire was 0.81. Data were analyzed by using descriptive statistics and paired t-test.

      The results revealed that: 1) after ending the program, the mean score of knowledge of people with uncontrolled diabetes mellitus was statistically significantly higher than a mean score of before participating the program (p< .05); 2) the mean score of self-care behaviors of people with uncontrolled diabetes mellitus after attending the program was higher than before attending the program with no statistical significance; 3) level of Hemoglobin A1c after the end of the program was statistically significantly lower than before participating the program (p <.001).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-01-02

ฉบับ

บท

บทความวิจัย