ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนและการสนับสนุนจากครอบครัวต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียนตอนปลายที่มีภาวะน้ำหนักเกิน THE EFFECTS OF SELF-EFFICACY AND FAMILY SUPPORT PROMOTION PROGRAM ON CONSUMPTION BEHAVIOR AMONG LATE SCHOOL AGED CHILD

ผู้แต่ง

  • เสาวนีย์ ชูจันทร์
  • วนลดา ทองใบ
  • จีราภรณ์ กรรมบุตร

คำสำคัญ:

โปรแกรม, การรับรู้ความสามารถของตน, การสนับสนุนจากครอบครัว, พฤติกรรมการบริโภค, เด็กวัยเรียน, ภาวะน้ำหนักเกิน, Program, perceived self-efficacy, social support, consumption behavior, school-age children, overweight

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

   การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรูความสามารถของตนและการสนับสนุนจากครอบครัว ต่อ พฤติกรรมการบริ โภคอาหารของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน กรอบแนวคิดในการศึกษาครั้งนี้ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเอง ของ Bandura (1997) และทฤษฎีการสนับสนุนทางสังคมของ House (1981) ทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างเด็กวัยเรียนตอนปลาย ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน อายุ 10 - 12 ปี จำนวน 52 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 26 คน กลุ่มทดลองได้รบโปรแกรมส่งเสริมการรับรูความสามารถของตนและการสนับสนุนจากครอบครัว ในการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมไม่ได้รบโปรแกรมใดๆ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลหลังเสร็จสิ้นโปรแกรมระยะ 2 สัปดาห์ โดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน และทดสอบค่าความเชื่อมั่นโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ .80 จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ chi-square และ t-test

   ผลการวิจัย พบว่า เด็กวัยเรียนทีมภาวะน้ำหนักเกินกลุ่มทีได้รบโปรแกรมส่งเสริมการรับรูความสามารถของตนและการสนับสนุนจากครอบครัว ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร มีคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารสูงกว่าก่อนได้รบโปรแกรม และสูงกว่ากลุ่มทีไม่ได้รบโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นพยาบาลอนามัยโรงเรียน หรือครู สามารถนำโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนและการสนับสนุนจากครอบครัว ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารไปประยุกต์ใช้ เพื่อป้องกันภาวะอ้วนในกลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน

Abstract

   This quasi-experimental study aimed to investigate the effects of self-efficacy and family support promotion program on food consumption behavior among school-age children with overweight. The conceptual framework of this study was based on the Self-Efficacy Theory proposed by Bandura (1997) and the Social Support Theory of House (1981). The sample included 52 students, age 10-12 year old with overweight, were divided equally into the experimental and control groups. The experimental group participated in the 6-week self-efficacy and family support promotion program for adjusting food consumption behavior, whereas, the control group received no treatment. Data were collected at two-week after the intervention by using food consumption questionnaire. The instrument was evaluated for content validity by three experts. Cronbach’s alpha coefficient was .80. Statistical utilized for analysis was descriptive statistics, Chi-square, and t-test.

      Results revealed that the school-age children with overweight who received self-efficacy and family support promotion program had the food consumption score at posttest higher than at pretest and those of the control group with statistical significance. Therefore, school nurses or teachers could apply this self-efficacy and family support promotion program for obesity prevention in school-age children with overweight.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-01-02

ฉบับ

บท

บทความวิจัย