ผลของโปรแกรมส่งเสริมการผ่อนคลายโดยการฟังดนตรีธรรมะร่วมกับสุวคนธบำบัดต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุEFFECT OF PROMOTING RELAXATION PROGRAM BY USING DHARMA MUSIC AND AROMATHERAPY FOR SLEEP QUALITY OF ELDERLY IN SOCIAL WELFARE DEVELOPMENT CENTER FOR OLDER

ผู้แต่ง

  • จุไรรัตน์ ดือขุนทด
  • สิริลักษณ์ โสมานุสรณ์
  • วารี กังใจ

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมการผ่อนคลาย, คุณภาพการนอนหลับ, การฟังดนตรีธรรมะ, สุวคนธบำบัด, ผู้สูงอายุ Relaxation program, sleep quality, Dharma music, aromatherapy, elderly

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

    การศึกษา นี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริม

การผ่อนคลายโดยการฟังดนตรีธรรมะร่วมกับสุวคนธบำบัดต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ เลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 24 ราย โดยการสุ่มอย่างง่ายเพื่อเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการผ่อนคลายโดยการฟังดนตรีธรรมะร่วมกับสุวคนธบำบัดต่อคุณภาพ การนอนหลับที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (Independent t - test)

   ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพการนอนหลับหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และกลุ่มทดลองมีผลต่างคะแนนเฉลี่ยคุณภาพการนอนหลับสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมส่งเสริมการผ่อนคลายโดยการฟังดนตรีธรรมะร่วมกับสุวคนธบำบัดต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุ ช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุได้ดังนั้นพยาบาลควรสนับสนุนให้มีการนำโปรแกรมส่งเสริมการนอนด้วยการผ่อนคลายโดยการฟังดนตรีธรรมะร่วมกับสุวคนธบำบัดไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพการนอนหลับที่ดีขึ้น

ABSTRACT

     This quasi-experimental study aimed to evaluate the effects of relaxing promotion program by using dharma music and aromatherapy on sleep quality of elderly in the Social Welfare Development Center for Older Persons. A total of twenty four subjects were recruited by simple random sampling and were assigned to the experimental and control groups equally. The experimental group received the relaxing promotion program, whereas the control group received regular care. Data were analyzed by using mean, standard deviation, and independent t – test.

     The results revealed that after receiving the program, the experimental group had a significantly higher mean score of sleep quality than before receiving the program and the experimental group had the means difference score of sleep quality higher than those of the control group at a significant level of .05

     The finding demonstrated that the promoting relaxation program by using dharma music and

aromatherapy can enhance sleep quality among the elderly in the Social Welfare Development Center. Therefore, nurses should apply this promoting relaxation program to promote sleep quality in the elderly.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-01-02

ฉบับ

บท

บทความวิจัย