สภาวะการทำหน้าที่ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสภาวะการทำหน้าที่ของผู้ป่วย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง FUNCTIONAL STATUS AND FACTORS INFLUENCING FUNCTIONAL STATUS AMONG CHRONIC OBSTRUCTIVE PULMONARY DISEASE

ผู้แต่ง

  • สุภาภรณ์ ด้วงแพง

คำสำคัญ:

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ความรุนแรงของโรค, การรับรู้ภาวะสุขภาพ, การสนับสนุนทางสังคม, ความสม่ำเสมอในการปฏิบัติตามแผนการรักษา, สภาวะการทำหน้าที่, chronic obstructive pulmonary disease, disease severity, health status perception, social support, regimen adhere

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนาย เพื่อศึกษาสภาวะการทำหน้าที่และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสภาวะการทำหน้าที่ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จำนวน

180 คน ที่สุ่มแบบแบ่งชั้นจากผู้ที่มารับบริการที่โรงพยาบาล 4 แห่งในเขตภาคตะวันออก เครื่องมือที่ใช้ใน

การเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบบันทึกข้อมูลจำนวน 7 ชุด ได้แก่ แบบสอบถาม

ข้อมูลส่วนบุคคลและการเจ็บป่วย แบบประเมินโรคร่วม อาการด้านร่างกายและอาการด้านจิตใจ การรับรู้ภาวะสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม ความสม่ำเสมอในการปฏิบัติตามแผนการรักษา และสภาวะการทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจำแนกปัจจัย การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเพียร์สัน สัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนสภาวะการทำหน้าที่ อยู่ในระดับดี ความรุนแรงของโรคมีความสัมพันธ์ทางลบกับสภาวะการทำหน้าที่ในระดับปานกลาง (rs =-0.61) ความสม่ำเสมอในการปฏิบัติตาม

แผนการรักษามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับสภาวะการทำหน้าที่ ( r=0.33) การรับรู้ภาวะ

สุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับสภาวะการทำหน้าที่ (r=0.73) การสนับสนุนทางสังคมมีความ

สัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับสภาวะการทำหน้าที่ (r=0.24) กลุ่มอาการทางกายและกลุ่มอาการทางจิตใจ

มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางกับสภาวะการทำหน้าที่ (r=-0.49, r=- 0.57 ตามลำดับ) สำหรับ

ปัจจัยที่สามารถทำนายสภาวะการทำหน้าที่ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ได้แก่ ความรุนแรงของโรค

ความสม่ำเสมอในการปฏิบัติตามแผนการรักษา และการรับรู้ภาวะสุขภาพ ซึ่งสามารถร่วมกันทำนายสภาวะ

การทำหน้าที่ได้ร้อยละ 65 ผลการวิจัยนี้ สามารถใช้เป็นความรู้พื้นฐานในการพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลหรือโปรแกรมการส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มีความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมตามบทบาทหน้าที่ของบุคคลโดยตระหนักถึงความสำคัญของความรุนแรงของโรค ความสม่ำเสมอในการปฏิบัติตามแผนการรักษา และการรับรู้ภาวะสุขภาพ

 

Abstract

The purposes of this study were to study functional status and examine factors influencing functional status of chronic obstructive pulmonary disease (COPD) patients. The sample of 180 COPD patients was selected by multi-stage random sampling from 4 hospitals in the eastern region. The research instruments were 7 questionnaires and recorded forms including: personal and illness data, co-morbidity, physical and psychological symptoms, health status perception, social support, regimen adherence, and functional status. Descriptive statistics, factors analysis, Pearson’s product moment correlation coefficient,

Spearman rank correlation coefficient, and standard multiple regression analysis were used to analyze the data.

The findings revealed that the sample had functional status score at a good level. Disease severity was negatively related to functional status at a moderate level (rs = -0.61). Regimen adherence was positively associated with functional status at a moderate level (r=0.33.). Health status perception was positively related to functional status at a high level (r =0.73). Social support was positively related to functional status at a low level (r=0.24). Physical and psychological symptoms clusters were negatively correlated with functional status at a moderate level (r=-0.49, r=-0.57, respectively). Disease severity, regimen adherence, and health status perception explained 65% of the variance of functional status.

The results of this study can be used as the basic knowledge to develop a nursing practice guideline or program for enhancing COPD patients’ ability to achieve functional independence in their roles by recognizing the importance of the severity of the disease, regimen adherence, and health status perception.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-09-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย