ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสื่อสารทางเพศและความพึงพอใจทางเพศในชีวิตสมรสของพยาบาลที่สมรสแล้ว: โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

ผู้แต่ง

  • อนุวัตร ส่งเมา พยาบาลวิชาชีพ, นักศึกษาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเพศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การสื่อสารทางเพศ, ความพึงพอใจทางเพศในชีวิตสมรส, พยาบาลที่สมรสแล้ว

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการสื่อสารทางเพศต่อความพึงพอใจทางเพศในพยาบาลที่สมรสแล้ว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ พยาบาลเพศหญิงที่สมรสแล้วทั้งที่จดทะเบียนสมรสและไม่จดทะเบียนสมรสในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จำนวน 308 คน โดยใช้แบบสอบถามให้เขียนตอบเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ Pearson’s Correlation และ Chi-Square

ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่าง 37 เปอร์เซ็นต์ มีระดับความพึงพอใจทางเพศสูง รองลงมา 34.4 เปอร์เซ็นต์ มีระดับความพึงพอใจทางเพศต่ำ พยาบาลส่วนใหญ่ 58.1 เปอร์เซ็นต์ มีพฤติกรรมการสื่อสารทางเพศ โดยการใช้วัจนภาษาและอวัจนภาษาอยู่ในระดับปานกลางรองลงมา 17.2 เปอร์เซ็นต์ มีระดับพฤติกรรมการสื่อสารทางเพศสูง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า พฤติกรรมการสื่อสารทางเพศ ระยะเวลาการสมรส รายได้ต่อเดือน ลักษณะครอบครัว การตั้งครรภ์ การมีบุตร และ การทำงานพิเศษนอกเวลา มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจทางเพศในชีวิตสมรสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

1.
ส่งเมา อ. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสื่อสารทางเพศและความพึงพอใจทางเพศในชีวิตสมรสของพยาบาลที่สมรสแล้ว: โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. JBCN_Bangkok [อินเทอร์เน็ต]. 8 มกราคม 2013 [อ้างถึง 24 มิถุนายน 2025];27(3). available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/4832

ฉบับ

บท

บทความวิจัย