การดำเนินชีวิตและการปรับตัวของนักศึกษาพยาบาลโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่ม เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ

ผู้แต่ง

  • ยุพยงค์ ทังสุบุตร พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน)
  • งามนิตย์ รัตนานุกูล พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน)
  • รัตนาภรณ์ ศิริวัฒน์ชัยพร พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน)

คำสำคัญ:

การดำเนินชีวิต, การปรับตัว, นักศึกษาพยาบาล, โครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิต และการปรับตัวของนักศึกษาพยาบาลในโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเข้าศึกษาที่วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ โดยผู้วิจัยเริ่มคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลจากนักศึกษาที่อยู่ในกลุ่มนักศึกษาที่ปรึกษา จากนั้นใช้เทคนิค snowball ในการคัดเลือกผู้เข้าร่วมให้ข้อมูลรายอื่นๆ ตามความสมัครใจ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์รายบุคคลแบบเจาะลึก จำนวนผู้ให้ข้อมูลพิจารณาตามการอิ่มตัวของข้อมูล ได้กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษารวมทั้งสิ้น 17 คน วิเคราะห์ข้อมูลแบบวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษา สาระข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพที่มีความหลากหลายทั้งภาพเชิงกว้างและเชิงลึกแตกต่างกัน ดังนี้ 1. ลักษณะกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง นับถือศาสนาอิสลาม และมีสถานภาพคู่เพียง 1 คน ระดับการศึกษาก่อนเข้ามาศึกษาในโครงการฯ นี้ส่วนใหญ่ประมาณ 3 ใน 4 กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีปีที่ 1-4 ที่สถาบันอื่น และมีเพียง 1 คนที่เพิ่งจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

2. การดำเนินชีวิตและการปรับตัวด้านการเรียนการสอน ในภาคการศึกษาแรกการจัดให้มีการเรียนการสอนเพียง 4 วิชา นักศึกษาให้ความเห็นว่าเป็นสิ่งทีดี ช่วยให้ปรับตัวต่อการเรียนในภาคการศึกษาต่อไปได้ดีขึ้น สำหรับการจัดการเรียนการสอนที่เพิ่มขึ้นในภาคการศึกษาต่อไป นักศึกษาได้กล่าวถึงการเรียนที่ต่อเนื่องกันทั้งวัน และการเรียนในวันหยุดสุดสัปดาห์ว่าเป็นการเรียนที่หนัก ไม่ดี ไม่ได้ผลเท่ากับการเรียนวันธรรมดา นอกจากนี้นักศึกษาได้สะท้อนความคิดเห็นต่องานทได้รับมอบหมายในการเรียนการสอนว่ามาก อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างที่จบการศึกษามานานสะท้อนถึงความรู้สึกไม่แน่ใจว่าจะเรียนสู้ผู้ที่จบการศึกษารุ่นหลังกว่าได้หรือไม่ และคิดว่าผู้เพิ่งจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้เปรียบมากกว่าผู้ที่จบมานานแล้ว ในเรื่องจำได้ดีกว่าและมีพื้นฐานต่อเนื่อง ในส่วนของการเตรียมตัวก่อนเรียน หรือก่อนสอบ นักศึกษาอิสลามส่วนใหญ่อ่านหนังสือหลังทำละมาดเช้า นักศึกษาหลายคนรวมกลุ่มกันอ่านหนังสือในคืนวันก่อนสอบ บางคนไม่ได้นอน ทำให้เพลีย สัมพันธภาพกับเพื่อน ๆ มีการพูดขัดแย้งกันบ้าง ส่วนสัมพันธภาพกับรุ่นพี่ นักศึกษาไม่ชอบการพบกับรุ่นพี่ในรูปแบบของการโอเรนน้อง นักศึกษาหลายคนใช้เวลาว่างไปแถวหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหงเพื่อพบญาติ เพื่อน และซื้ออาหารอิสลาม นักศึกษาบางคนใช้เวลาว่างในการทำกิจกรรมอื่นในหอพัก เช่น เล่นเกมส์ อ่านหนังสือ

ผลการศึกษาครั้งนี้ได้ข้อมูลที่มีคุณค่าเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตและการปรับตัวของนักศึกษาพยาบาลในโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย