การใช้นิวโรบิคส์ เอ็กเซอร์ไซส์ เพื่อส่งเสริมความจำแก่ผู้สูงอายุที่มารับบริการ ในคลินิกเบาหวานและความดันโลหิตสูง ของศูนย์สุขภาพชุมชนศรีพิมาน THE NEUROBICS EXERCISE FOR MEMORY ENHANCEMENT IN ELDERLY PATIENTS RECEIVED SERVICES IN DIABETIC AND HYPERTENSION CL

ผู้แต่ง

  • ธัญพร สมันตรัฐ

คำสำคัญ:

นิวโรบิคส์ เอ็กเซอร์ไซส์, ส่งเสริมความจำ, ผู้สูงอายุ, คลินิกเบาหวานและความดันโลหิตสูง, neurobics exercise, memory enhancement, diabetic and hypertension clinic

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางคัดกรองสมองเสื่อมเบื้องต้น และส่งเสริมการใช้นิวโรบิคส์ เอ็กเซอร์ไซส์ เพื่อส่งเสริมความจำแก่ผู้สูงอายุที่มารับบริการในคลินิกเบาหวานและความดันโลหิตสูงของศูนย์สุขภาพชุมชนศรีพิมาน มีขั้นตอนดังนี้ 1) อาสาสมัครสาธารณสุข คัดกรองสมองเสื่อมโดยใช้แบบประเมินภาวะสมองเสื่อม Mini Cog พบผิดปกติส่งต่อพยาบาล เพื่อทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย (MMSE-Thai 2002) 2) ให้ความรู้ กระตุ้นทักษะ และส่งเสริมการบริหารสมองด้วย 10 กิจกรรมตัวอย่างครอบคลุมประสาทสัมผัสทั้งห้าและอารมณ์ ในคลินิก 5 ครั้งๆละ 2 กิจกรรม ใช้เวลานาน 5 สัปดาห์ 3) ติดตาม เพื่อกระตุ้นการใช้กิจกรรมนิวโรบิคส์ เอ็กเซอร์ไซส์ และประเมินผู้สูงอายุที่มีปัญหาความจำที่บ้าน 6 สัปดาห์

ผลการศึกษาพบว่ามีผู้สูงอายุในคลินิกได้รับการคัดกรองเบื้องต้นร้อยละ 95 มีความผิดปกติจากการประเมิน Mini Cog ร้อยละ 21.05 และมีความเสี่ยงสมองเสื่อมเบื้องต้นจากการประเมิน MMSE ร้อยละ 8.77 ได้รับการส่งต่อคลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลสตูล กรณีผิดปกติจาก Mini Cog ได้รับการติดตามการใช้กิจกรรมนิวโรบิคส์ เอ็กเซอร์ไซส์ ที่บ้าน 6 สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 100 และวัดผลจากการประเมิน MMSE มีค่าคะแนนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 57.14 ผู้สูงอายุที่ร่วมกิจกรรม มีความรู้ในเรื่องสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นร้อยละ 82.45 มีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม ค่าเฉลี่ย 3.88 และผู้ให้บริการมีแนวทางคัดกรองสมองเสื่อมเบื้องต้นแก่ผู้สูงอายุ

 

Abstract

This developmental research aimed to develop the dementia pre-screening guideline for elderly patients and investigate an effect of using the neurobics exercise for memory enhancement in elderly patients received service in the diabetic and hypertension clinic of Si Piman Community Health Center. The research procedures consisted of: 1) the dementia screening conducted by the village health volunteer using Mini-Cognitive assessment/Informant Questionnaire on Cognitive Decline in the Elderly (Mini Cog), followed by referring to nurses for Mini-Mental State Examination (MMSE) Thai 2002 version in case of the cognitive impairment was observed; 2) ten- brain activation activities to promote overall sensory organs were educated and stimulated to practice in the clinic for 5 weeks, 2 activities a week; and 3) the follow-up visits to encourage the elderly patients with memory impairment to perform neurobics exercise and evaluation were arranged once a week for 6 weeks.

The result showed that the pre-screening by Mini Cog was applied on 95% of the elderly patients and founded cognitive impairment for 21.05 percent of them. The prevalence of probable dementia tested by MMSE Thai 2002 version was 8.77 percent, who were then referred to the geriatric clinic at Satun Hospital. The neurobics exercise in the elderly patients with cognitive impairment from Mini Cog was continuously followed up by home visit once a week for 6 weeks; 57.14 % of them gained higher score on MMSE. The knowledge and skills related to dementia and neurobics exercise were introduced to normal elderly patients; 82.45 % of them gained higher score for dementia’s knowledge; and the mean score of service satisfaction was rated at 3.88.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-05-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย