พัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ของนักศึกษาพยาบาลจากการสอนแบบร่วมมือ DEVELOPED COMPETENCY OF NURSING STUDENTS ON DIABETES CARE USING COOPERATIVE LEARNING TECHNIQUE
คำสำคัญ:
สมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาล, การสอนแบบร่วมมือ, Competency, Cooperative Learning techniqueบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลอง ชนิดกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองครั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานของนักศึกษาพยาบาล ด้านความรู้เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทักษะการฉีดอินซูลิน และความมั่นใจการปฏิบัติการพยาบาล จากการสอนแบบร่วมมือ และเพื่อเปรียบเทียบความรู้ของนักศึกษาก่อนและหลังการสอน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 ที่กำลังฝึกปฏิบัติวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 2 ปีการศึกษา 2557 ระหว่างวันที่ 18 สิงหาคม 2557 ถึงวันที่ 7 ธันวาคม 2557 ณ หอผู้ป่วยอายุรกรรม โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเป็นนักศึกษาที่ให้การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานและได้ฉีดอินซูลิน จำนวน 77 คน เครื่องมือทดลองเป็นแผนการสอน สร้าง โดยใช้ ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือของ Johnson & Johnson (1998) ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ ดำเนินการทดลองโดย สอนนักศึกษาเป็นกลุ่มย่อย 4 กลุ่มๆละ 8-16 คน ผู้วิจัยประจำกลุ่มๆ ละ 1 คน สอนครั้งละ 4 ชั่วโมง จำนวน 3 ครั้ง รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินทักษะ การฉีดอินซูลิน และแบบประเมินความมั่นใจการปฏิบัติการพยาบาล มีค่าความเที่ยงของเครื่องมือ 0.63 (KR 20) 0.75 และ 0.75 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบทีคู่ (Paired t-test) ผลการวิจัย พบว่าความรู้ของนักศึกษาพยาบาลก่อนการสอนอยู่ในระดับปรับปรุง (Mean = 12.43 SD=2.74)ร้อยละ 79.2 ระดับพอใช้ร้อยละ 18.2 ระดับดีร้อยละ 2.6 หลังการสอนอยู่ในระดับพอใช้(Mean = 15.18 SD=2.72)ร้อยละ 45.44 ระดับปรับปรุงร้อยละ 35.1 ระดับดีร้อยละ 14.3และระดับดีมากร้อยละ5.2 ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้หลังการสอนสูงกว่าก่อนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < .01นักศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 77.9 มีทักษะการฉีดอินซูลินอยู่ในระดับดีมาก และมีความมั่นใจการปฏิบัติการพยาบาลอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 74.03 ข้อเสนอแนะ การสอนแบบร่วมมือช่วยให้นักศึกษามีความรู้เพิ่มขึ้นมีทักษะและความมั่นใจในการปฏิบัติ การสอนแบบร่วมมือจึงเป็นทางเลือกหนึ่งของนวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาพยาบาล
Abstract
The purposes of this quasi-experimental, one group pre-posttest design were to examine the nursing students’ knowledge, skills of insulin injection, and confidence in diabetes care, and to compare knowledge scores between pre and posttest. Participants included by Purposive sampling 77 third year nursing students who apprenticed at medicine wards in the subject of the Nursing Care of Persons with Health Problems Practicum II,Academic Year 2014. All participants were taught about insulin injection technique and diabetes care in small groups of 8–16 students, by using cooperative learning technique (Johnson & Johnson, 1998). All students had knowledge test at baseline and at the end of study. They were also measured with questionnaires of skills of insulin injection and confidence of diabetes care at wards. The internal reliability coefficients of knowledge, insulin injection skills, and confidence of diabetes care questionnaires were of 0.63 (KR-20), 0.75, and 0.75, respectively. Data were analyzed using percentage, mean, standard deviation and dependent t-test statistics. Findings showed that knowledge scores (Mean=12.43, SD=2.74) felled in the poor (79.2%), fair (18.2%), and good (2.6%) levels at baseline. Their knowledge posttest scores (Mean=15.18, SD=2.72) felled in the poor (35.1%), fair (45.4%), good (14.3%), and very good (5.2%) levels. The posttest knowledge score was significantly higher than the baseline (p<.01). Majority of students (77.9%) were at very good level on insulin injection skills, and 74.03% had very good level of confidence of diabetes care. In conclusion, cooperative learning technique could improve nursing students’ knowledge, skills, and confidence in diabetes care. The cooperative learning technique might be option for innovative teaching strategy in nursing students.
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น