ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคอาหารพื้นบ้านของผู้สูงอายุในเขตเมือง FACTORS RELATED TO LOCAL FOOD CONSUMPTION OF THE ELDERLY IN URBAN AREA

ผู้แต่ง

  • สามารถ ใจเตี้ย

คำสำคัญ:

การบริโภคอาหารพื้นบ้านล้านนา, ผู้สูงอายุ, เขตเมือง local food consumption, elderly, urban area

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคอาหารพื้นบ้านล้านนาของผู้สูงอายุในเขตเมือง โดยสุ่มตัวอย่างจากครัวเรือนผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 279 ครัวเรือน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่บริโภคอาหารพื้นบ้านล้านนาบางครั้ง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.10) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารพื้นบ้านล้านนา พบว่า อายุเฉลี่ยและการเข้าร่วมพิธีกรรมในชุมชนมีความสัมพันธ์กับการบริโภคอาหารพื้นบ้านล้านนาของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ0.05 (P – value = 0.011 และ 0.028 ตามลำดับ) ทั้งนี้ผู้สูงอายุยังให้ข้อเสนอแนะปัจจัยการดำรงอยู่ของอาหารพื้นบ้านเพื่อการเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุในเขตเมือง โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญกับนโยบายการพึ่งตนเองด้านอาหารของผู้สูงอายุ วัฒนธรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์ และเสริมสร้างองค์ความรู้ท้องถิ่นเกี่ยวกับอาหารพื้นบ้านที่เหมาะสมให้กับสมาชิกกลุ่มแม่บ้าน

 

 

Abstract

      The objective of this study was to study factors related to Lanna local food consumption of the elderly in urban area. The 279 participants were sampled from the elderly in the urban area of Suthep subdistrict, Muang Chiangmai District, Chiangmai Province. Data were collected by using questionnaires and in-depth interview. Quantitative data were analyzed by using descriptive statistics and linear regression analysis; while qualitative data were analyzed by using content analysis.

      The results indicated that majority of the elderly consumed Lanna local foods at the moderate level (c = 2.10). Age and participation in rituals activities had correlation with Lanna local food consumption with statistical significance at 0.05 (p – value 0.011 and 0.028, respectively). In conclusion, the elderly and caregivers suggested the ways to maintain Lanna local food consumption for health of the urbanize elderly that the related organization needs to promote policy according to self – reliance on food of the elderly, food consumption culture of diverse ethnicity, and provide knowledge in relation to appropriate local food consumption to housewife community members.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-05-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย