การทบทวนสถานการณ์งานวิจัย ด้านสมรรถนะของบุคลากรสาธารณสุข ในหน่วยบริการปฐมภูมิ

ผู้แต่ง

  • ประกาย จิโรจน์กุล ปัจจุบัน อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนดุสิต
  • จุรีรัตน์ กิจสมพร นักวิเคราะห์นโยบายและแผน 8 สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

สมรรถนะ, บุคลากรสาธารณสุข, หน่วยบริการปฐมภูมิ

บทคัดย่อ

การทบทวนสถานการณ์งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสถานการณ์งานวิจัยด้านสมรรถนะของบุคลากรสาธารณสุขในหน ่วยบริการปฐมภูมิ และ ได้ข้อเสนอแนะที่เป็นการต่อยอดจากองค์ความรู้ที่มีอยู่ ในบริบทของประเทศไทย ใช้วิธีการวิเคราะห์จากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผ่านการประเมินคุณภาพอย่างเป็นระบบ จำนวน 42 เรื่อง

ผลการศึกษาได้ข้อค้นพบ และ องค์ความรู้ที่เป็นปัจจุบันเกี่ยวกับสถานการณ์งานวิจัยด้านสมรรถนะของบุคลากรสาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิ โดยแบ่งตามงานวิจัยเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

กลุ่มที่ 1) การศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข พบว่าตัวแปรที่เป็น ปัจจัยภายในของบุคคล มีความสัมพันธ์ทางบวก ต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงาน หรือ ความพึงพอใจการปฏิบัติงานของบุคลากร กลุ่มที่ 2) การศึกษาเกี่ยวกับลักษณะงาน/บทบาท/ สมรรถนะของบุคลากรในหน ่วยบริการปฐมภูมิ พบว่า พยาบาลวิชาชีพมีบทบาทในการดูแลสุขภาพบุคคล ครอบครัว และ ชุมชน รองลงมาคือ การวางแผน การบริหารจัดบริการสุขภาพ ส่วนบทบาทที่ยังทำน้อยและควรพัฒนา คือ การทำงานร่วมกับเครือข่ายชุมชนด้านสุขภาพ และการทำวิจัย โดยเฉพาะการวิจัยสุขภาพร่วมกับชุมชน กลุ่มที่ 3) การพัฒนาบุคลากร/ ความต้องการการพัฒนา พบว่าบุคลากรสาธารณสุขมีความต้องการการสนับสนุนทั้งด้านการบริหาร บริการ และวิชาการ และพบว่า เจ้าหน้าที่ทุกตำแหน่งได้รับการอบรมยกเว้น ทันตาภิบาล และ กลุ่มที่ 4) คุณภาพของบริการ/ รูปแบบการให้บริการ/ การประเมินผลการให้บริการ พบว่า กระบวนการพัฒนาคุณภาพบริการโดยให้เจ้าหน้าที่มีส่วนร่วมในการ Identify ปัญหาของพื้นที่ของตนเอง และร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหา และเจ้าหน้าที่จาก สสจ. เป็นพี่เลี้ยงสนับสนุน เป็นวิธีการที่ประสบความสำเร็จได้ดี

นอกจากองค์ความรู้ที่ได้รับแล้ว การทบทวนงานวิจัยครั้งนี้ ยังสามารถระบุส่วนขาดขององค์ความรู้ที่จำเป็น (missing area) ข้อเสนอ/แนวทางในการทำวิจัยที่เป็นการต่อยอดจากองค์ความรู้ที่มีอยู่ ในบริบทของประเทศไทย และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายอีกด้วย

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย