ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเครียดของพยาบาลและผู้ป่วยพยาบาล แผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในสังกัดของรัฐแห่งหนึ่ง STRESS OF NURSES AND NURSING ASSISSTANTS IN MEDICAL UNIT A GOVERNMENT UNIVERSITY HOSPITAL
คำสำคัญ:
ความเครียด, พยาบาลและผู้ช่วยพยาบาล, แผนกอายุรกรรม, โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในสังกัดของรัฐ, stress, nurse, nurse assistant, medical unit, government, university hospitalบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional survey) เพื่อวัดระดับความเครียดของพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลแผนกอายุรกรรม และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยการทำงานกับความเครียด กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในสังกัดของรัฐแห่งหนึ่ง ที่ปฏิบัติงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จำนวน 150 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบไม่แทนที่เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประเมินความเครียด (ST-5) และแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยการทำงานที่ก่อให้เกิดความเครียด ระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม - 9 สิงหาคม 2556 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และ biserial correlation
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 41.30) ปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเครียดโดย ได้แก่ อายุ (r = -0.219) และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน(r = -0.201) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความเครียดคือ ภาระงาน (r = 0.267) บทบาทที่มีความขัดแย้ง และคลุมเครือมาก (r = 0.401) และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม (r = 0.243)
ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย คือ หัวหน้าหอผู้ป่วยควรกำหนดภาระงาน และตารางมอบหมายงานในแต่ละวัน ให้สมดุลกับงานและสัดส่วนของเจ้าหน้าที่และไม่ซ้ำซ้อน จัดสรรงบประมาณในส่วนของการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน เพิ่มเงินค่าล่วงเวลา ในกรณีทำงานเกินกำหนดเวลา ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมมีระบบระบายอากาศ มีแสงสว่างเพียงพอ
Abstract
This cross-sectional survey was to measure level of stress among nurses and nursing assistants worked at medical unit and to identify the association between personal factors, working factors, and stress. The sample was randomly selected of 195 nursing personnel with at least 1 year of working experience at medical unit of a government university hospital. Data were collected during 28th July – 9th August 2013 using Stress Test Questionnaire (ST-5). Data were analyzed by using Pearson ’s Product Moment Correlation Coefficient and biserial correlation. Findings showed that majornity of the participants had moderate level of stress (41.30 %). Personal factors negatively associated with stress including age (r = -0.219) and working experience (r = -0.201). The factors that had positive association with stress levels were work burden (r = 0.267), conflicts and unclear work role (r = 0.401), and non-suitable working environment (r = 0.243). The recommendations were to adjust workload, working responsibility without overlapping of nursing duties. Budget for work incentive should be set, and overtime subsidy rate should be increase.The working environment should be improved such as better air ventilation and adequate lighting in a work place.
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น