รู้เรื่องการป้องกันและควบคุมการบาดเจ็บของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยเอก นในจังหวัดปทุมธานี KNOWLEDGE ON INJURY PREVENTION AND CONTROL AMONG UNDERGRADUATE NUความRSING STUDENTS OF PRIVATE UNIVERSITY IN PATHUMTHANI PROVINCE
คำสำคัญ:
การบาดเจ็บ, การป้องกัน, การควบคุม, injury, prevention, controlบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเมินความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมการเกิด การบาดเจ็บของนักศึกษา พยาบาลศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเอกชนในจังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัย เอกชนจังหวัดปทุมธานีจำนวน 340 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และ แบบทดสอบความรู้มาตรฐานของ WHO SEARO (WHO South East Asia Regional Office) module ของ Orapan Thosingha (2011) แบ่งความรู้ออกเป็น 9 หมวดได้แก่ 1)หลักในการจัดการเพื่อควบคุมป้องกันการบาดเจ็บและ การส่งเสริมความปลอดภัย 2)การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บต่อเนื่อง 3)การพยาบาลผู้ประสบภัยพิบัติ 4)การบาดเจ็บ จากงาน 5)การได้รับสารพิษ 6)การป้องกันและควบคุมการบาดเจ็บในเด็กเล็กและวัยรุ่น 7)การป้องกันและควบคุม การบาดเจบ็ ในผู้สูงอายุ 8)การป้องกันและควบคุม การบาดเจ็บ ในการใช้ ความรุนแรง 9)กฎหมายวิชาชีพ และจริยธรรม ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและควบคุมการบาดเจ็บ ผู้วิจัยได้นำ แบบทดสอบไปตรวจสอบหาค่าความเชื่อมั่น โดยวิธี คูเดอร์ริชารด์สัน (KR21) ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .75 การวิเคราะห์ข้อมูลได้วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Nonparametric test (Kruskal – Wallis test and Mann – Whitney test)
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนความรู้ในเรื่องการป้องกันและควบคุมการบาดเจ็บโดยรวมอยู่ใน ระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 53.10 (Mean= 33.39, SD =3.83) และเมื่อเปรียบเทียบปัจจัยด้านเพศและระดับ ชั้นปีกับคะแนนเฉลี่ยความรู้ทั้งหมด โดยวิธี Mann- Whitney พบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้ทั้งหมดเมื่อเทียบกับ เพศ และชั้นปี ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Z= -.99, -.94, p>.05) และค่าคะแนนเฉลี่ย ความรู้ทั้ง หมดเมื่อ เทียบกับ ช่วงอายุไม่มี ความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสิติที่ที่ระดับ .05 (Z=47.79 ,p>.05)
ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเอกชนในจังหวัดปทุมธานี ควรได้ รับ ความ รู้ เรื่องการป้องกัน และควบคุม การบาดเจ็บ เพิ่มเติมเนื่องจากนักศึกษาพยาบาลเป็น บุคลากรในทีม สุขภาพที่สามารถช่วยลดอัตราการตายและความพิการจากการบาดเจ็บได้นอกจากนี้ พยาบาลที่จบการศึกษาแล้ว ควรได้รับการ พัฒนาต่อยอดความรู้เฉพาะด้านการป้องกันและควบคุมการบาดเจ็บเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน
Abstract
The objectives of this research were to evaluate knowledge on injury prevention and control of nursing students at private university in Pathumthani Province. The samples consisted of 340 nursing students from the private universities in Pathumthani. The study instruments were the questionnaire to collect demographic data and the WHO standardized test (WHO South East Asia Regional Office, WHO SEARO) by Orapan Thosingha (2011). The standardized test were divided into 9 topics including, 1) basic principles and approach to injury prevention and control and safety promotion, 2) the continuum of injury care, 3) disaster nursing, 4) work related injury, 5) poisoning, 6) injury prevention and control in child and adolescents, 7) injury prevention and control in the Elderly, 8) prevention and control of violence, and 9) medico-legal and ethical issues related to injury prevention and control. The reliability of instruments according to Kuder Richardson (KR 21) was .75. Data were analyzed using descriptive statistic and nonparametric test (Kruskal – Wallis test and Mann – Whitney test),
Results showed overall knowledge of the samples were at 53.10% which were at moderate level (Mean=33.39, S.D=3.83). The comparison of knowledge among gender and different year of study showed no significant difference at 0.05 (Z=-.99, -.94, p>.05). The comparison of average score of knowledge with age were also no statistical significant difference at 0.05 (Z=47.79, p>.05).
It was suggested that the nursing students should learn more about injury prevention and control since they were a member of health team to decrease motility rate and deformity from injury. In addition, new register nurse should be developed more knowledge on prevention and control injury as well.
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น