ปัจจัยทำนายความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐในเขตภาคกลาง Factor Influenced Organizational Commitment of Nurses in Emergency Units, Public University Hospitals in The Central Region
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจในงาน, ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ, พยาบาลเวชศาสตร์ฉุกเฉิน, โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ, Job satisfaction, Organizational commitment, Emergency nurses, Public university hospitalsบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเพื่อวัดระดับของตัวแปรและหาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคล
ความพึงพอใจในงาน กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กร กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรด้านการพยาบาล ได้แก่พยาบาลวิชาชีพ และผู้ช่วยพยาบาล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐในเขตภาคกลาง 4 แห่ง ที่ปฏิบัติงานในหน่วยเวชศาสตร์ฉุกเฉินมาไม่น้อยกว่า 1 ปี จำนวน 163 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่าง วันที่ 20 กันยายน ถึง 30 พฤศจิกายน 2554 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดืยว การทดสอบ-ที และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นบันได (Stepwise Multiple Regression)
ผลการวิจัย พบว่า ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลเวชศาสตร์ฉุกเฉินแต่ละกลุ่มอายุ ระยะเวลาการปฏิบัติงานในองค์การ สถานภาพ และระดับการศึกษา ไม่แตกต่างกัน ความพึงพอใจภายนอก ด้านการยอมรับนับถือ การบริการสังคม ความสามารถของผู้บังคับบัญชา และผู้ร่วมงาน เรียงตามลำดับ ร่วมกันอธิบายความผันแปรของความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลเวชศาสตร์ฉุกเฉินโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐในเขตภาคกลางได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.8 (R2= 0.508) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย คือ จัดทำนโยบายด้านสวัสดิการ ค่าตอบแทนพิเศษ ปรับปรุงสถานที่
และส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ให้กับบุคลากร เพื่อให้บุคลากรเกิดความผูกพันพร้อมที่จะทุ่มเทพัฒนาองค์การให้เกิดประสิทธิภาพ
Abstract
This research was a study to measure the level of the variables and define the relationships between personal attributes, job satisfaction, and organizational commitment. The studied populations were service nurses personnel such as professional nurses and nurse assistants in four public university hospitals in the central region of Thailand who had at least 1 year of experience working in the emergency unit of the hospital. There were 163 qualified participants in the sample. Questionnaires were employed for data collection from the 20th September to the 30th November, 2011. Statistical methods used for data analysis were ANOVA, t-test, and Stepwise multiple regression.
The study found that the organization commitment of emergency nurses with different age, duration of work, marital status and education were not different. External satisfaction were recognized by the public, opportunity to serve the society, capability of supervisors and colleagues could co-explain the variation of organizational commitment of the respondents by 50.8 % (R2 = 0.508) with statistical significance.
The recommendations from the research are that there should be a policy regarding personnel welfare, extra payment for hard work, improvement of the work-place, and job skill education for personnel. This policy would help create more organizational commitment and facilitate dedication which would lead to a more efficient organization.
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น