คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานธนาคารเลือด ในเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 3 และ 9 QUALITY OF WORK LIFE OF BLOOD BANK AMONG PERSONNEL IN PUBLIC HEALTH REGION 3 AND 9

ผู้แต่ง

  • ผกามาศ ตะนัง
  • ปิยธิดา ตรีเดช
  • วงเดือน ปั้นดี

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตการทำงาน, บุคลากรที่ปฏิบัติงานธนาคารเลือด, เขตตรวจราชการสาธารณสุข, Quality of work life, Blood bank personnel, Public health regions

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

  การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานและปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน ของบุคลากรที่ปฏิบัติงานธนาคารเลือด ในเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 3 และ 9 ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 130 คนและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 – 30 มีนาคม 2554 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างโดยการใช้ t – test , One-way ANOVA, Least Significant Difference และหาความสัมพันธ์ โดยใช้ Pearson’s Product Moment Correlation

                ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยคุณภาพชีวิตการทำงานในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.1) ด้านที่มีระดับความคิดเห็นด้วยมากที่สุด คือ สภาพการทำงานที่ปลอดภัยและส่งเสริม สุขภาพ (ค่าเฉลี่ย 3.3) เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า รายได้/เดือนต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตการทำงานโดยรวมต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และระดับความคิดเห็นที่มีต่อบรรยากาศองค์กรโดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.1) ด้านที่มีระดับความคิดเห็นด้วยมากที่สุด คือ นโยบายและการบริหาร (ค่าเฉลี่ย 3.3) และเมื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์กรและคุณภาพชีวิตการทำงานในภาพรวม พบว่า บรรยากาศองค์กรด้านนโยบายและการบริหารมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับคุณภาพชีวิตการทำงาน 7 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง (ค่า r=0.56) ยกเว้นด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม บรรยากาศองค์กรด้านลักษณะงาน

และด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับคุณภาพชีวิตการทำงานทั้ง 8 ด้าน บรรยากาศองค์กรด้านความเสี่ยงในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับคุณภาพชีวิตด้านจังหวะชีวิตโดยรวมเพียงด้านเดียว

แนวทางในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานธนาคารเลือด ทำการทบทวนนโยบายและวางแผนความก้าวหน้าในอาชีพ  การพิจารณาให้เงิน พ.ต.ส. และเงินประจำตำแหน่ง ที่ยังมีความเหลื่อมล้ำระหว่างผู้ที่ได้รับ กับไม่ได้รับเงินเพิ่มพิเศษต่างๆ  รูปแบบการบริหารควรเป็นระบบ

ราชการแบบวิชาชีพ (Professional Bureaucracy) ตามความถนัดและความเชี่ยวชาญ ให้อิสระในการปฏิบัติ หน้าที่ จัดให้มีการทดสอบความเชี่ยวชาญทางธนาคารเลือด และมีการรับรองผลการทดสอบเป็นรายบุคคล รวมถึงการได้รับการกำหนดระเบียบการพักผ่อนหลังการอยู่เวรนอกเวลา   

 

ABSTRACT

The objective of this survey research was to study the quality of work life and factors affecting the personnel working in hospital blood banks in the 3rd and 9th Public Health Regions. One hundred and thirty personnel were the sample group and questionnaires were employed to collect data during 1-30 March 2011.Statistics used for data analysis were mean, standard deviation, t-test, One –way ANOVA, Least significant difference, and Pearson’s Product Moment Correlation.

The study found that the level of opinion relating to the over-all quality of work life was medium (M= 3.1). The aspect which was mostly agreed upon was the safe and healthy working environment (M= 3.3).When comparing the quality of work life to personal factors, it was found that the personnel with different monthly income had different opinions relating to quality of work life with a statistical significance (p = 0.05). The level of opinion relating to over-all organizational atmosphere was medially agreed (M= 3.3). Analyzing the relationship between organizational atmosphere and the over-all quality of work life found that organizational atmosphere in the aspect of policy and administration had a medially positive relationship (r = 0.56) with seven aspects of quality of work life except the aspect of adequate and fair salary and other financial benefits. The organizational atmosphere in the aspects of the nature of the task and working environment had a positive relationship with 8 aspects of quality of work life. Only the aspect of the risk of the task had a negative relationship with the quality of work life in the perspective of tempo of living.

Suggestions for improving the quality of work life of personnel working in blood banks were: Review the policy and plan for career growth and adjust financial payment to be more equitable and fair both in terms of salary and honorarium. The organization should be arranged as a professional bureaucracy and the structure should be classified by skill and expertise. A certification test for expertise in blood bank knowledge and individual certification should be administered, There should be regulations for rest allowance after overtime work.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย