การประเมินสมรรถนะของพยาบาลฉุกเฉินที่สำเร็จการอบรมหลักสูตรการพยาบาล เฉพาะทางสาขาการพยาบาลฉุกเฉิน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ A Competency Evaluation of Participants from the Emergency Nurse Training Program at Boromarajonani College of Nursing, Bangko
คำสำคัญ:
การประเมินสมรรถนะ, การอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลฉุกเฉิน, Competency evaluation, Emergency Nurse Training Programบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive.research).เพื่อศึกษาสมรรถนะของผู้สำเร็จการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลฉุกเฉินรุ่นที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้สำเร็จการอบรม หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลฉุกเฉินรุ่นที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ จำนวน 44 คน และผู้บังคับบัญชาของผู้สำเร็จการอบรม จำนวน 44 คน เครื่องมือการวิจัยเป็บแบบสอบถามเพื่อประเมินสมรรถนะของผู้สำเร็จการอบรมตามการรับรู้ของตนเอง และผู้บังคับบัญชา ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ 1) ด้านความรู้ทางวิชาการและคุณภาพการบริการ 2) ด้านการปฎิบัติการพยาบาลในภาวะฉุกเฉิน 3) ด้านการคัดกรองและการประเมินอาการในภาวะฉุกเฉิน 4) ด้านการฟื้นคืนชีพขั้นสูง 5) ด้านการวางแผนจำหน่ายและการส่งต่อผู้รับบริการ และ 6) ด้านทัศนคติในการปฎิบัติงาน ทั้งหมด 50 ข้อ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงทางเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และทดสอบความเที่ยงโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา คอนบาร์ค พบว่า แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้สำเร็จการอบรมต่อสมรรถนะของตนเองและผู้บังคับบัญชามีค่าเท่ากับ 0.85 การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีส่งแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (independent T-test)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
- ผู้สำเร็จการอบรม หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลฉุกเฉิน และผู้บังคับบัญชา มีความเห็นสอดคล้องกันว่า ผู้สำเร็จการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะทางการพยาบาลฉุกเฉินจำแนกรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับดี
2. ระดับสมรรถนะของผู้สำเร็จการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลฉุกเฉินรุ่นที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ ตามความคิดเห็นของผู้สำเร็จการอบรมจำแนกรายข้อพบว่า ระดับสมรรถนะดีมาก คือ รับผิดชอบต่อผลการปฎิบัติงานที่เกิดขึ้น (x=4.68 S.D.=.471) รองมาคือ ตั้งใจและมั่นใจในการปฎิบัติงาน (x=4.59 S.D.=.497) ส่วนระดับสมรรถนะของผู้สำเร็จการอบรมตามความคิดเห็นของผู้บังคับบัญชา จำแนกรายข้อพบว่า ระดับสมรรถนะดี ได้แก่ รับผิดชอบต่อผลการปฎิบัติงานที่เกิดขึ้น
(x=4.48 S.D.=.590) รองมาคือ ตั้งใจและมั่นใจในการปฎิบัติงาน (x=4.39 S.D.=.618)
3.เปรียบเทียบสมรรถนะของผู้สำเร็จการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลฉุกเฉินรุ่นที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ ระหว่างความคิดเห็นของผู้สำเร็จการอบรมและผู้บังคับบัญชาระดับต้น พบว่า ผู้สำเร็จการอบรมและผู้บังคับบัญชา มีความคิดเห็นต่อสมรรถนะด้านทัศนคติในการปฎิบัติงาน แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านความรู้ทางวิชาการและคุณภาพการบริการ ด้านการปฎิบัติการพยาบาลในภาวะฉุกเฉิน ด้านการคัดกรองและการประเมินอาการในภาวะฉุกเฉิน ด้านการฟื้นคืนชีพขั้นสูง และด้านการวางแผนจำหน่ายและการส่งต่อผู้รับบริการ แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
จากผลการวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่า การประเมินสมรรถนะพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉินควรประเมินเป็นระยะๆ เพื่อนำไปพัฒนาพยาบาลให้คงรักษาสมรรถนะตามที่ต้องการ และปรับปรุงในสมรรถนะที่ยังด้อย และควรมีการศึกษาติดตามสมรรถนะของผู้สำเร็จการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลฉุกเฉินในเชิงคุณภาพเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดและลึกซึ้งมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาลและปฏิบัติพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินได้อย่างถูกต้องปลอดภัยและมีประสิทธิภาพลดภาวะเสิ่ยงต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในภาวะฉุกเฉิน
Abstract
A descriptive study was designed to examine nursing competencies of 44 nurses, trained from the Emergency Nurse Training Program at the Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. The trained nurses and their supervisors were asked after one year of completion. The 50-item scale which consisted of 6 competencies, including knowledge and quality of services, emergency nursing performances, screening and evaluation in emergency, advanced cardiovascular life support skill, discharge planning and referral services, and attitude toward work was developed by the researchers. Its content validity was checked by the experts. The reliability was tested by using Cronbach alpha coefficient was 0.85. The data were analyzed using mean, percentage, standard deviation and independent t-test.
The results revealed that:
- Both trained nurses and their supervisors rated all competencies as “good”.
- More specifically, for an individual item, the trained nurses perceived that their attitude toward work (x=4.44, SD=0.45) and willingness and confidence to perform tasks were “excellent.” The supervisors rated their responsibilities (x=4.48 S.D = .59) and willingness and confidence to perform tasks were “good.”
- There was statistically significant difference between trained nurses and their supervisors (p < .05), especially in attitude toward work. However, there was no difference of opinions toward knowledge and quality of services, emergency nursing performances, screening and evaluation in emergency, advanced cardiovascular life support skill, and discharge planning and referral services between two groups.
The results of this research have suggested that the accident and emergency nursing competencies should be assessed periodically to retain these skills. It should be followed up to track the performance of the trainees, especially using qualitative methods to obtain more profound data in order to improve the quality of nursing care of emergency patients.
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น