ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ของข้าราชสำนักที่ปฏิบัติงานภายในเขตสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต FACTORS RELATED TO EXERCISE BEHAVIOR AMONG OFFICERS IN SUANCHITRALADA, DUSIT PALACE
คำสำคัญ:
EXERCISE BEHAVIOR, SELF-EFFICACY, SOCIAL SUPPORTบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนานี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของ ข้าราชสำนักที่ปฏิบัติงานในเขตสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการและลูกจ้างประจำ ที่ปฏิบัติงานในเขตสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิตประจำปีงบประมาณ 2554 จำนวน 358 คน ซึ่งสุ่มตัวอย่างโดยวิธีแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติไคสแควร์เพื่อทดสอบความสัมพันธ์
ผลการวิจัยพบว่าข้าราชสำนักมีความรู้ด้านการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ อยู่ในระดับสูง ปานกลางและต่ำร้อยละ 45.8, 42.5 และ 11.7 ตามลำดับ พฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพครบถ้วนสมบูรณ์อยู่ในระดับสูง ปานกลางและต่ำ ร้อยละ 13.4, 7.5 และ 54.5 ตามลำดับ และมีผู้ไม่ออกกำลังกาย ร้อยละ24.6 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ปัจจัยเพศและแรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ขณะที่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพกับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา เศรษฐานะ การมีโรคประจำตัว ความรู้ การรับรู้ความสามารถตนเอง การรับรู้ประโยชน์ และสิ่งแวดล้อมของสถานที่ทำงานและเพื่อน
ดังนั้นควรมีการสนับสนุนให้ทุกเพศมีการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ โดยการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในสถานที่ทำงาน ให้มีโครงการหรือกิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ มีสถานที่ และอุปกรณ์อย่างเพียงพอ และในครอบครัวให้ตระหนักถึงความสำคัญของการออกกำลังกาย และมีพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างถูกต้อง และต่อเนื่อง
ABSTRACT
This survey research was aimed to study the factors related to exercise behavior of the officers working in Chitralada, Dusit Palace. The sample group was composed of 358 government officers and permanent employees working in Chitralada Dusit Palace in the fiscal year of 2011. The multi-stage sampling method was employed to select the samples. Data were collected using a questionnaire and were analyzed by descriptive statistics including frequency, percentage, mean and Chi-Square test (c2) for analyzing the relationship between variables.
The results found that 45.8 percent of the samples had a high level of knowledge about physical exercise while 42.5 percent and 11.7 percent had moderate or low levels, respectively. In regard to performance of complete physical exercise, 13.4 percent, 7.5 percent and 54.4 percent were found to perform at the high, moderate and low levels and 24.6 percent had not performed physical exercise. The relationship analysis showed that sex was a factor found to be significantly related to physical exercise behaviors (p-value<0.005), since male participants performed exercise behaviors more than females participants. Another factor that was found to relate significantly with exercise behavior was family support (p-value<0.05).
The recommendations from this study are : support should be given in regard to knowledge about exercise ; public relations activities should help personnel be aware of the importance of exercise and proper practice; an effective model should be developed to in order to support and promote exercise behavior to improve the health of the Royal Household’s officers and employees.
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น