ความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล JOY AT WORK OF REGISTERED NURSES IN BUMRUGRAD INTENATIONAL HOSPITAL

ผู้แต่ง

  • อภิญญา ศรีจันทร์
  • ปิยธิดา ตรีเดช
  • วงเดือน ปั้นดี

คำสำคัญ:

Joy at work, self-esteem, work environment, ความสุขในการทำงาน, การรับรู้คุณค่าในตน, สภาพแวดล้อมในงาน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงอรรถาธิบาย (Explanatory Research)ชนิดการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดระดับความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพ (จำนวน246 คน เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1-30 เมษายน 2555) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม ได้รับแบบสอบถามคืนร้อยละ 100 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน

      ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 21-30 ปี สถานภาพสมรสโสด วุฒิการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรี มีรายได้ต่อเดือน 30,001 - 35,000บาท ปฏิบัติงานแผนกผู้ป่วยใน ระยะเวลาในการปฏิบัติงานอยู่ในช่วง 1 - 5 ปี พยาบาลวิชาชีพมีความสุขในการทำงาน การรับรู้คุณค่าในตนและสภาพแวดล้อมในงานโดยรวมอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 4.00, 4.03,3 .95 ตามลำดับ) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างความสุขในการทำงานตามลักษณะปัจจัยส่วนบุคคลของพยาบาลวิชาชีพ พบว่าพยาบาลวิชาชีพที่มีสถานภาพสมรสแตกต่างกันมีความสุขในการทำงานแตกต่างกันโดยสถานภาพสมรสคู่มีความสุขในการทำงานสูงกว่าสถานภาพสมรสโสด/หย่า/แยกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p = 0.019 อายุ การรับรู้คุณค่าในตนและสภาพแวดล้อมในงานมีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r =  0.146, 0.583, 0.774 ตามลำดับ โดย p < 0.05) สภาพแวดล้อมในงานด้านการมีคุณค่าในสังคม ความเป็นธรรมการมีเป้าหมายภายนอกทั่วไปและความก้าวหน้าทางอาชีพ การรับรู้คุณค่าในตนด้านการมีความสำคัญและการมีอำนาจเป็นปัจจัยที่สามารถทำนายความสุขในการทำงานได้ที่ R2 เท่ากับร้อยละ 74.1อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.05

      จากผลการวิจัยผู้บริหารควรรักษาระดับความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพให้อยู่ในระดับสูงโดยการมีนโยบายบริหารฝ่ายการพยาบาลแบบกระจายอำนาจ มีความหลากหลายของงาน ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ ความสามารถ ทักษะทางด้านการพยาบาลและด้านอื่นๆให้รางวัล กล่าวคำชมเชยและให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ จัดการสภาพแวดล้อมในงานให้มีความเหมาะสมกับโครงสร้างองค์การเพื่อเอื้ออำนวยให้พยาบาลปฏิบัติงานได้อย่างมีความสุข

ABSTRACT

The objective of this explanatory research with cross-sectional study was to measure the level of joy at work of registered nurses working in Bumrungrad International Hospital. The samples group was 246 registered nurses selected by simple random sampling. Data was collected by questionnaire during 1-30 April 2012.The questionnaires were all returned. Statistics used for data analysis were mean, percentage, standard deviation, Pearson’s Correlation Coefficient and stepwise multiple regression analysis.

The study found that the majority of the registered nurses were female, between the ages of 21-30 years,single, and their highest education status was bachelor’s degree. A majority had income of 30,000-35,000 baht per month, and they worked in the in-patient department. Their duration of work ranged from one to five years. The overall joy at work, self- esteem, and satisfaction with work environment of the registered nurses was in the high level (mean =4.00, 4.03, and3.95 respectively). Joy at work was compared among the studied population  with  different personal characteristics and it was found that  nurses with different marital status had different level of  joy at work, Those who were married had a higher level of joy at work than those who were single, divorced, or separated with statistical significance(p=0.019).The study also found that age, self-esteem, and satisfaction with work environment were associated with joy at work of the registered nurses with statistical significance (r=0.146,0.583, and 0.774, respectively, (p<0.05). Values social position, equity, externally-generated goals, career outlook, sense of importance, and authority could predict joy at work of the registered nurse by approximately74.1%(p<0.05).

Based on the research result, recommendations are that the nursing department policy should be decentralized and the job should be diversified. The development should support the development of knowledge, capability, and skills in nursing and other disciplines through continuing education programs. Reward systems, compliments, and gratuities in accordance with knowledge and capability should be considered. Work environment should be managed appropriately within the organizational structure to help facilitate the registered nurses to provide nursing care to the patients with joy at work.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-07-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย