ภาพลักษณ์ที่เป็นจริงและที่พึงประสงค์ของเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานด้านสาธารณสุข และสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ของสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร PERCEIVED IMAGE AND IDEAL IMAGE OF PUBLIC HEALTH AND ENVIRONMENTAL HEALTH DISTRICT OFFICIALS OF BANGKOK METROPOLITAN ADMINISTRA
คำสำคัญ:
ภาพลักษณ์, ภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์, Image, Ideal Imageบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจเพื่อศึกษาภาพลักษณ์ที่เป็นจริงและที่พึงประสงค์ของเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานด้านสาธารณสุข และสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาเปรียบเทียบภาพลักษณ์ที่เป็นจริงกับภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์ของเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานด้านสาธารณสุข และสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ตามการรับรู้ของผู้ปฏิบัติงาน ผู้ร่วมงาน และผู้รับบริการ จำนวน 780 คน และสุ่มสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 13 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t- test
ผลการวิจัย พบว่า ผู้ปฏิบัติงานรับรู้ภาพลักษณ์ที่เป็นจริงและพึงประสงค์อยู่ในระดับมาก ผู้ร่วมงานรับรู้ภาพลักษณ์ที่เป็นจริงอยู่ในระดับปานกลางและรับรู้ภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก และผู้รับบริการรับรู้ภาพลักษณ์ที่เป็นจริงและพึงประสงค์อยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาเปรียบเทียบภายในกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน กลุ่มผู้ร่วมงาน และกลุ่มผู้รับบริการ พบว่า มีการรับรู้ภาพลักษณ์ที่เป็นจริงกับภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้ปฏิบัติงานกับกลุ่มผู้ร่วมงาน พบว่า มีการรับรู้ภาพลักษณ์ที่เป็นจริงกับภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ข้อเสนอแนะ เจ้าหน้าที่ควรพัฒนาความเป็นผู้นำในทักษะการคิดประยุกต์ กล้าแสดงความรู้ความสามารถ พร้อมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพของตนเองและพัฒนาพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพสู่การเป็นแบบอย่างที่ดีในหน่วยงาน ซึ่งผู้ปฏิบัติงานควรได้รับการสนับสนุนให้มีบทบาทหลักในกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในหน่วยงานมากขึ้น และควรพัฒนาด้านการบริการด้วยความรวดเร็ว อ่อนน้อมและวางตัวอย่างเหมาะสม ซึ่งการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีนั้นต้องมาจากผู้ปฏิบัติงานเป็นหลักโดยมีหน่วยงานคอยให้การสนับสนุนและพัฒนาร่วมด้วย
ABSTRACT
This study is a survey research studying perceived image and ideal image of public health and environmental health district officials of Bangkok Metropolitan Administration. The study focused on the comparative perspective of perceived and ideal image of the officers according to the perception of the officers, work colleagues, and clients for a total of 780 people. Data was collected by questionnaires and interviews. Thirteen officers were randomly selected for interview. Statistics used for data analysis were percentage, mean, and standard deviation. Hypothesis testing was done by t-test.
The study found that the officers had a high level of perception of ideal and perceived image, their work colleagues had a medium level of perception of perceived image and high level of ideal image, and clients had a high level of perception of both perceived and ideal image. A comparative study of the perception among the officers, work colleagues and clients found a statistically significant difference between perceived image and ideal image at α = 0.05. Comparative study of the perception among the officers and work colleagues found a statistically significant difference between perceived image and ideal image at α = 0.05.
The research recommendations are that officers should develop their leadership in the aspect of applied thinking, express their knowledge and skills, and be ready to listen to others’ ideas and concepts. They should also focus on promoting their personal health and improving their health behavior to be an ideal model in their office. They should receive support to play a more active role in health promotion activities of their office. The service should be accomplished with promptness, politeness and proper personality. The improvement of the image of public health and environmental health officers must be mainly initialed from the officers themselves and the office in which they work should provide additional support.
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น